• ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ
    : รองศาสตราจารย์ สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อรสา ปานขาว
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
FULL TEXT

Abstract

The objective of this study was to survey the opinions of Thai restaurateurs regarding the dining
behavior of their foreign tourist customers by interviewing 175 restaurateurs in 7 of the most popular provinces for tourism in Thailand: Chiang Mai, Karnchanaburi, Nakorn Ratchasima, Cholburi, Surat Thani,
Phuket and Bangkok. A structured questionnaire was used and the data were analyzed using the computer
program.
Out of the restaurateurs interviewed, 57.7% were male and 42.3% were female. Almost half had
been educated at lower than bachelor’s degree while 37.1% had bachelor’s degree. Of the respondents,
37.4% were restaurant owners, 26.8% were managers, 12.6% were partners.
Most of the foreign tourists chose the place to eat themselves and according to the recommendation
of the tour company at the high level. A la carte dishes, a set menu and a single dish were ordered more
frequently than a special menu. Sea foods were the most popular dishes. Only few variety of fruits were
consumed. The majority ate Thai style, using a spoon and fork. The kind of dining atmosphere they preferred
most was casual. The main reasons the foreign tourists satisfied with the dining service were the cleanliness,
the hospitality, the service standard, the authentic flavor of the food, and language skill of the staff,
respectively. The tourists from different regions had different dining behavior at the table.
The majority of the restaurateurs indicated no problem in promoting Thai foods for the foreign
tourists. The problems most frequently cited by one-third of the restaurateurs were difficulty in finding quality
service staffs, controlling food costs, managing public relations, difficulty in finding talented cooks and lack of
cooperation among restaurants.


Keyword

Thai food, foreign tourist, dining behavior

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาทัศนะของผู้ประกอบการร้านอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทย
ของนักท่องเที่ยวต่างชาติด้านการตัดสินใจเลือกร้านอาหาร ประเภทและชนิดของอาหารที่บริโภค วิธีการบริโภค
บรรยากาศที่ชอบ สิ่งที่สร้างความพึงพอใจกับการใช้บริการ และพฤติกรรมที่โต๊ะอาหาร โดยการสัมภาษณ์
ผู้ประกอบการร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี
และกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 175 คน ด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการที่ให้ข้อมูลเป็นเพศชาย ร้อยละ 57.7 เพศหญิงร้อยละ 42.3 เกือบกึ่งหนึ่ง
สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีเพียงร้อยละ 37.1 ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 37.4 มีฐานะเป็น
เจ้าของผู้ประกอบการ ร้อยละ 26.8 เป็นผู้จัดการ และร้อยละ 12.6 เป็นหุ้นส่วน
ในทัศนะของผู้ประกอบการเห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่เลือกร้านอาหารด้วยตนเองและบริษัทนำ
เที่ยวเลือกให้ในระดับมาก นักท่องเที่ยวนิยมอาหารตามสั่ง อาหารชุด และอาหารจานเดียวมากกว่ารายการอาหาร
พิเศษและอาหารที่บริโภคมีความหลากหลาย เน้นรสชาติที่ไม่เผ็ดมาก อาหารทะเลเป็นอาหารที่นิยมมากที่สุด แต่ผลไม้
ยังจำกัดเพียงไม่กี่ชนิด ใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแบบคนไทย และส่วนใหญ่นิยมบรรยากาศการบริโภคอาหารแบบ
รองลงมาได้แก่อัธยาศัยโอบอ้อมอารีของคนไทย มาตรฐานการบริการ รสชาติ และความสามารถในการพูด
ภาษาต่างประเทศได้ของพนักงานบริการ นักท่องเที่ยวต่างชาติแต่ละภูมิภาคมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารบนโต๊ะ
อาหารแตกต่างกัน
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระบุว่าไม่มีปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของอาหารไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มี
เพียงหนึ่งในสามที่ระบุปัญหา ซึ่งได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนพนักงานบริการที่มีคุณภาพ การควบคุมต้นทุนอาหาร การ
โฆษณา การหาแม่ครัว และการขาดความร่วมมือระหว่างร้านอาหารด้วยกันเอง ตามลำดับ


คำสำคัญ

อาหารไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติ พฤติกรรมการบริโภค