Utilization of Distillery Slop for Sugar Cane Production and Environmental Pollution Reduction: Case of First Year Crop
การใช้ประโยชน์ของน้ำกากส่าสำหรับการผลิตอ้อยเพื่อลดมลพิษสิ่งแวดล้อม: กรณีอ้อยปลูกปีแรก
The purpose of this research was to study the appropriate ratio of distillery slop together with different
formulas of chemical fertilizer for sugar cane production to reduce the environmental pollution from the
distillery plant. A two-factor experiment was conducted on Mahasarakam soil series in Khonkaen Province,
using K 88-92 variety of sugar cane. The Split Plot in Randomized Complete Block Design was employed
with 3 replications having four kinds of chemical fertilizer, namely 0-0-0 (no fertilizer application), 21-0-0, 20-
20-0 and 13-13-21 at the rate of 60 kg/rai as main-plot treatments and four rates of distillery slop, namely, 0
(no slop application), 30, 60 and 90 m3/rai as sub-plot treatments.
Research findings showed as follows:
1. Application of distillery slop at 60 cu.m./rai or higher has significant effect on the increase of
EC, %OM, K, Mg, Mn, Fe, Cu, S and Cl in soil while application of 60 cu.m./rai or lower distillery slop does
not affect the number of bacteria.
2. In the presence of distillery slop, application of chemical fertilizer does not significantly effect the
growth, yield and sweetness quality of sugar cane. However, in the absence of distillery slop, application of
21-0-0 and 20-20-0 N-P-K fertilizer has significant effect on the yield of first year sugar cane.
3. In the presence of fertilizer, application of distillery slop at 60 and 30 cu.m./rai have significant effect
on the increase of plant number and stem high, especially at the age of 10 months and over, while
application of distillery slop does not have influence on the number of leaf.
4. Application of distillery slop has significantly increased the yield of first year sugar cane but different
doses of distillery slop does not make any significant difference on sugar cane production with the average
yield of 32.5, 31.3 and 30.0 ton/rai for the application of 60, 30 and 90 cu.m./rai, respectively, while the
average yield of 20.3 ton/rai was obtained without application of distillery slop.
5. Application of distillery slop does not affect the sweetness quality of sugar cane.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราน้ำกากส่าที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ สำหรับการผลิตอ้อยปลูก
เพื่อลดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากโรงงานสุรา การทดลองประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ น้ำกากส่า 4 อัตรา ได้แก่ 0, 30, 60,
และ 90 ลบ.ม./ไร่ และปุ๋ยเคมี N-P-K 4 สูตร ได้แก่ 0-0-0, 21-0-0, 20-20-0 และ 13-13-21 ในอัตรา 60 กก./ไร่ วาง
แผนการทดลองแบบ split-plot ใน randomized complete block design ทำซ้ำ 3 บล็อก โดยให้ปุ๋ยเคมีอยู่ใน main
plot และน้ำกากส่าใน sub-plot พันธุ์อ้อยที่ใช้ได้แก่พันธุ์เค 88-92 โดยทำการทดลองกับชุดดินมหาสารคาม จังหวัด
ขอนแก่น ผลการวิจัยพบว่า
1. การใส่น้ำกากส่าโดยเฉพาะเมื่อใส่ในอัตราตั้งแต่ 60 ลบ.ม./ไร่ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
โดยช่วยเพิ่มปริมาณของ EC, %OM, K, Mg, Mn, Fe, Cu, S, และ Cl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการใส่น้ำกากส่า
ในอัตราต่ำกว่า 90 ลบ.ม./ไร่ ไม่ทำให้จำนวนแบคทีเรียในดินแตกต่างทางสถิติจากการไม่ใส่น้ำกากส่าแต่อย่างใด
2. ภายใต้การใส่น้ำกากส่า การใช้ปุ๋ยเคมีทั้ง 3 สูตร ไม่มีผลแตกต่างทางสถิติต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และ
คุณภาพความหวานของอ้อยปลูกเมื่อเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 และ
20-20-0 ภายใต้การไม่ใส่น้ำกากส่าเลย มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยปลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. การใส่น้ำกากส่าในอัตรา 60 และ 30 ลบ.ม./ไร่ มีผลต่อการเพิ่มจำนวนต้นและความสูงของอ้อยเมื่อเทียบกับ
การไม่ใส่น้ำกากส่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะในระยะที่อ้อยมีอายุ 10 เดือนขึ้นไป ในขณะที่การใส่น้ำกากส่า
ทุกอัตราไม่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนใบแต่อย่างใด
4. การใส่น้ำกากส่าสามารถทำให้ผลผลิตอ้อยสูงขึ้นกว่าการไม่ใส่น้ำกากส่าอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แต่การใส่น้ำกาก
ส่าในอัตราที่ต่างกันไม่ทำให้ผลผลิตอ้อยต่างกันในทางสถิติแต่อย่างใด โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 32.5, 31.3 และ 30.0
ตัน/ไร่ สำหรับการใส่น้ำกากส่าในอัตรา 60, 30, และ 90 ลบ.ม./ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับผลผลิตเฉลี่ย 20.3 ตัน/ไร่
เมื่อไม่มีการใส่น้ำกากส่าเลย
5. การใส่น้ำกากส่าไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพความหวานของอ้อยปลูกแต่อย่างใด