Growth of the Sea Grape (Caulerpa lentillifera J. Agardh ) by Shrimp Pond Waste Water
การเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera J. Agardh) โดยใช้น้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง
Growth of the Thai sea grape (Caulerpa lentillifera J. Agardh) was evaluated under outdoor tanks from
February to September 2005 with ambient seawater and seawater enriched with shrimp pond waste water at
Chachoengsao Coastal Fisheries Research and Development Center, Tasa-arn Subdistrict, Bangpakong
District, Chachoengsao Province. Caulerpa lentillifera cultured in seawater enriched with shrimp pond waste
water had higher growth rate and yield than that of cultured in seawater. The growth performance of
Caulerpa lentillifera varied depending on experimental conditions, for example, rainfall, nutrient enrichment
and varied salinity of cultured water. Among three heavy metals (Pb, Hg, Cd), Pb is the highest concentration
accumulated in the tissue of C. lentillifera. The C. lentillifera culture in ambient seawater had higher metal
concentrations than in seawater enriched with shrimp pond waste water.
การศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera J. Agardh) ภายใต้สภาวะถังเลี้ยง
กลางแจ้ง (outdoor tank) จากเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน 2548 โดยเลี้ยงสาหร่ายในน้ำทะเลธรรมชาติเพียง
อย่างเดียว และเลี้ยงโดยใช้น้ำทะเลธรรมชาติผสมกับน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเล ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง
ฉะเชิงเทรา ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่นที่เลี้ยง
โดยใช้น้ำทะเลธรรมชาติผสมกับน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเลมีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงในน้ำทะเล
ธรรมชาติเพียงอย่างเดียว การเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่นขึ้นกับสภาพแวดล้อม เช่น ปริมาณน้ำฝน ปริมาณ
สารอาหารในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเล และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำที่ใช้ในการทดลอง ส่วนปริมาณโลหะ
หนัก (ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม) ที่พบในเนื้อเยื่อสาหร่ายพวงองุ่นมีตะกั่วในปริมาณมากที่สุดซึ่งสาหร่ายที่เลี้ยงโดย
ใช้น้ำทะเลธรรมชาติมีปริมาณโลหะหนักในเนื้อเยื่อมากกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงโดยใช้น้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเล