The Impact of Trade Liberalization on the Thai Agricultural Sector and Corresponding Economic Trends
ผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีต่อภาคการเกษตรและแนวโน้มเศรษฐกิจไทย
This research is concerned, first, with the analysis of the impact of trade liberalization on the
economics of the Thai agricultural sector in conjunction with other economic production factors. Second, it
studies the agricultural sector so as to allow the framing of macroeconomic predictions of trends. Third, it
studies the problem of market access for Thai agriculture under the aegis of the World Trade Organization
(WTO) in terms of formulating joint policy in reference to major economic trends.
Methodologically, this research required (1) the construction of a computable general equilibrium
model (CGE model) utilizing the Johansen linearization method. In addition, (2) a macro-econometric model
(MEM model) was constructed involving a simultaneous equation system and the three-stage least square
(3SLS) technique so as to simulate policy implementation and determine the precise quantitative evaluation
of its impact. Finally, (3) linkages between the general equilibrium model and the macro-econometric model
are established in order to analyze the impact of trade liberalization on the Thai agricultural sector. The core
data base is comprised of secondary data. This data can be divided into three types: (1) an input-output
table, (2) figures concerning Thailand’s national income, and (3) other economic data used to provide a
conceptual framework: market access, domestic support, export subsidy, world price for agricultural exports
and removal of tariff barriers data.
The results of the impact of trade liberalization on the Thai agricultural sector can be summarized as
follows: From the macroeconomic point of view, real investment changed by 2.57%, the balance of trade
changed by 1.01%, and the consumer price index changed by 1.56%. Overall, some sectors increased in
value, but some economic sectors decreased, e.g., maize and maize products, fiber crops, and cattle and
dairy products. Regarding income and income distribution, income increased overall, but income increase in
rural areas as the percentage of the overall increase in income was less than that of urban areas. This was
because urban areas depend on agricultural products, whereas rural areas depend on industrial products.
The Thai economy in 2005 should have a real GDP growth rate of 4.1%. The agricultural sector
GDP should have a growth rate of 3.6%, and the non-agricultural sector GDP should grow by 6.1%. The inflation rate should increase by 4.0%. The growth rate of private consumption should be at 4.4%, whereas
the private investment growth rate should be at 10.1%. In reference to international trade, the current account
and balance of trade deficits should increase by 3.4%, and 8.5%, respectively. The value of exports and
imports will be at US$ 107.6 and US$ 116.1 thousand million, respectively. Deposits at commercial banks
should total 5,732.9 thousand million baht, the number of unemployed would be 1.075 million persons, and
per capita income would be 96,324.7 baht per year.
In the light of the major findings of this dissertation, a number of recommendations are made, as
follows. The economy should be restructured to ensure balanced and sustainable development. Domestic
content of products should be increased and imported content reduced. Efficiency in manufacturing should be
promoted, and emphasis placed on developing product quality and higher standards. Improvements should
also be made in the trade negotiation system and enlisting international cooperation in fostering the
development of the domestic economy.
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ศึกษาถึงผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีภายใต้กรอบ
องค์การการค้าโลกที่มีต่อภาคการเกษตรเศรษฐกิจรายสาขาและปัจจัยการผลิตอื่นทางเศรษฐกิจ 2. วิเคราะห์ศึกษาและ
คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของไทยโดยเฉพาะด้านการเกษตรและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมหภาคอื่นและ
3. วิเคราะห์ศึกษาการเปิดตลาดการค้าเสรีภายใต้องค์การการค้าโลกและนโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคร่วมกันเพื่อ
คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค
วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีต่อภาคการเกษตรและคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ
มหภาคของไทย ผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจมหภาคโดยใช้ทฤษฎีการคำนวณดุลยภาพทั่วไป
(Computable General Equilibrium--CGE Model) วิธีการคำนวณแบบ Johansen Linearization Method และ
แบบจำลองเศรษฐมิติมหภาค (Macro econometric Model--MEMs) อาศัยทฤษฎีเศรษฐมิติแบบระบบสมการ
เกี่ยวเนื่องกัน (Simultaneous Equation System) วิธีคำนวณแบบกำลังสองน้อยที่สุดสามขั้น (Three Stage Least
Square--3SLS) และการทำซิมูเลชั่น (simulation) ของตัวแปรนโยบายทางการเกษตรมาเป็นแนวทางของการวิจัยและวัด
ออกมาในรูปของเชิงปริมาณ ทั้งนี้ยังได้ทำการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคจากแบบจำลองการคำนวณดุลยภาพ
ทั่วไปทางเศรษฐกิจมหภาคนำไปสู่การวิเคราะห์แบบจำลองเศรษฐมิติมหภาคร่วมกันและคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ
มหภาคไทย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลแบบ
ทุติยภูมิ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. ฐานข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต 2. ฐานข้อมูลรายได้ประชาชาติ
3. ฐานข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคอื่น พร้อมทั้งใช้กรอบการเปิดตลาดการค้าเสรีทางการเกษตรที่ผูกพันธ์ไว้กับองค์การ
การค้าโลก เช่น การเปิดตลาด การลดการอุดหนุนการผลิตภายในประเทศของไทย การลดการอุดหนุนการส่งออก
แนวโน้มระดับราคาสินค้าเกษตรกรรมในตลาดโลกและมาตรการที่มิใช่ภาษีของไทย เป็นต้น พร้อมทั้งแนวโน้มของตัว
แปรทางเศรษฐกิจมหภาคอื่นร่วมในการวิเคราะห์
ข้อสรุปผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีต่อภาคการเกษตร ผลการศึกษา พบว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
มหภาค อาทิ การลงทุนที่แท้จริงมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 การกู้ยืมเงินของภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20
ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.56 ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01 และตัวแปรอื่นมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง
เพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจรายสาขา พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงผลผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขา
การผลิต แต่มีบางสาขาการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงผลผลิตลดลง เช่น ข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ ปอ ฝ้าย พืชเส้นไย โคเนื้อ
และโคนม เป็นต้น ส่วนการกระจายรายได้ พบว่า รายได้รวมทุกประเภทของประชาชนเพิ่มเพียงเล็กน้อยในทุกระดับชั้น
ของรายได้ โดยประชาชนในชนบทมีรายได้รวมทุกประเภทเพิ่มขึ้นน้อยกว่าประชาชนในเมือง เพราะประชาชนในเมือง
มีการพึ่งพาสินค้าอุตสาหกรรม แต่ประชาชนในชนบทมีการพึ่งพาสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีรายได้ที่น้อยกว่า
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2548 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัวร้อยละ 4.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมทางการ
เกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.6 ส่วนนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 6.1 และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีขยายตัวร้อยละ 4.0
หากพิจารณาด้านค่าใช้จ่าย พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.4 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ
10.1 ภาคการค้าระหว่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.4 ส่วนดุลการค้าขาดดุลร้อยละ 8.5 มูลค่าการ
ส่งออกประมาณ 107.6 พันล้านเหรียญสหรัฐและการนำเข้ามีมูลค่าประมาณ 116.1 พันล้านเหรียญสหรัฐทั้งนี้ภาค
การเงินมีปริมาณเงินฝากธนาคารพาณิชย์ประมาณ 5,732.9 พันล้านบาทและการว่างงานประมาณ 1.075 ล้านคน และ
ประชาชนมีรายได้ต่อหัว 96,324.7 บาทต่อปี
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยให้มีการพึ่งพาสินค้านำเข้าในสัดส่วน
ที่น้อย โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิตและสินค้าภายในให้มากขึ้น รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เน้นคุณภาพสินค้า
ตามมาตรฐานสากล และเร่งขยายตลาดต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกและอาศัยปัจจัยภายในประเทศเป็น
ตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอย่างมีเสถียรภาพ