• ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน
    : อาจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this research was to study the community structure of benthic macrofauna in the Pasak River, Ayutthaya Province. Benthic samples were collected from ten sampling stations along the river course in May 2011 (rainy season) and December 2011 (dry season), using a Petersen grab. At each station, the physicochemical parameters of water, including temperature, pH, dissolved oxygen, conductivity, and depth was in situ measured, and sediment samples were taken for grain size analysis and organic matter determination in a laboratory. The macrofauna was classified into six major taxa including oligochaetes, polychaetes, gastropods, bivalves, crustaceans and insect larvae. Oligochaetes were widely distributed along the river both rainy and dry season and showed the highest abundance, they constituted 45.448% of total abundance. The others were gastropods (38.23%) and polychaetes (11.14%), respectively. The results showed that the distribution and abundance of macrofauna were correlated with water temperature, pH, dissolved oxygen, conductivity, grain size composition and organic matter content in the sediment.


Keyword

Ayutthaya Province, benthic macrofauna, environmental factors, the Pasak River

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างประชาคมของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในแม่น้าป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินจานวน 10 สถานี ในเดือนพฤษภาคม (ฤดูฝน) 2554 และธันวาคม (ฤดูแล้ง) 2554 ด้วยเครื่องมือตักดิน (Petersen Grab) ทาการวัดคุณภาพน้าทางกายภาพและทางเคมีในภาคสนาม ได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนละลายน้า ความนำไฟฟ้า และความลึกของน้ำ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำกลับมาวิเคราะห์หาขนาดอนุภาคดินตะกอนและปริมาณสารอินทรีย์ในดินในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดินจำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ ไส้เดือนน้ำ (oligochaetes) โพลิคีต (polychaetes) หอยฝาเดียว (gastropods) หอยสองฝา (bivalves) ครัสตาเซียน (crustaceans) และตัวอ่อนแมลง (insect larvae) กลุ่มไส้เดือนน้ำมีการกระจายกว้างพบเกือบทุกสถานีในแม่น้ำทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง และมีความชุกชุมมากที่สุดพบถึงร้อยละ 45.44 รองลงมาคือ หอยฝาเดียว (ร้อยละ 38.23) และโพลีคีต (ร้อยละ 11.14) ตามลำดับ การกระจายและความชุกชุมของสัตว์หน้าดินแสดงความสัมพันธ์ทางสถิติกับอุณหภูมิของน้ำ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ความนาไฟฟ้าของน้า ขนาดอนุภาคดินตะกอนและปริมาณสารอินทรีย์ในดิน


คำสำคัญ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม แม่น้ำป่าสัก