• อรุณลักษณ์ เพชรวิไลกุล
    : นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this research inquiry, the researcher investigates (1) the conditions of knowledge management performance by Ramkhamhaeng University (RU) entities. Furthermore, the researcher examines (2) problems and obstacles encountered in the practice of knowledge management by these entities in addition to making knowledge management recommendations for them.

In this survey research investigation, the research population consisted of 350 personnel who were appointed as members of Knowledge Management Committees at RU entities and who were discharging duties at RU, Hua Mak Campus, Bang Kapi, Bangkok Metropolis.

The instrument of research was a questionnaire. Of the 350 copies of the questionnaire distributed, a total of 322 copies was returned to the researcher (92.0 percent return rate). Using techniques of descriptive statistics, it was found that overall of the knowledge management of RU is being at a high level: there is average 3.69, when considered and it was shown that intra-organizational knowledge as 3.71; knowledge planning for embodiment and storage as 3.67; knowledge development and knowledge transfer or knowledge sharing as 3.55

Considerations concerning problems and obstacles founded by the researcher in addition to recommendations for dealing with these problems and obstacles are as follows:

(1) Intra-organizational knowledge survey: The entities encountered problems and obstacles stemming from the loss of knowledge because of those who had resigned or retired. It is recommended that surveys be conducted of the knowledge possessed by those who plan to resign or retire in the next five years and then to attempt to replace them with new personnel with comparable knowledge.

(2) Knowledge planning for embodiment and storage: It was found that entity information systems were scattered and not systematically organized. It is recommended that databases be developed using modern technology.

(3) Knowledge Development: It was found that personnel usually cling to a traditional organizational culture without thinking of changing work styles. It is recommended that administrative policy should induce personnel to become cognizant of the importance of participation in knowledge management activities. In addition, it is recommended that intra-organizational knowledge management teams be developed.

(4) Knowledge transfer or knowledge sharing: It was found that personnel who transfer knowledge are very knowledgeable, but yet do not use explicit transference techniques. Moreover, they usually keep their knowledge to themselves without giving evidence of how important is the knowledge they have for the entity of which they are a part. It is recommended that administrators should foster an organizational culture in which stress is placed on members thinking, acting and learning as an organic unit.


Keyword

The Knowledge Management Performance

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรามคำแหง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยรามคาแหง หัวหมาก บางกะปิ จานวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลได้จานวน 322 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.00 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือมีค่าเฉลี่ย 3.69 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การสำรวจความรู้ภายในองค์กร มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.71 ด้านการวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและจัดเก็บมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 ด้านการพัฒนาความรู้ และด้านการถ่ายทอดความรู้หรือการแบ่งปันความรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55

ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ด้านการสำรวจความรู้ภายในองค์กร หน่วยงานมีปัญหาอุปสรรคคือความรู้สูญหายไปพร้อมกับผู้ที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการ ซึ่งเสนอแนะให้มีการดาเนินการสำรวจความรู้ของผู้ที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการ ในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมหาบุคคลใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเท่ากันเข้ามาปฏิบัติงานแทน 2) ด้านการวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและจัดเก็บ พบว่า ระบบสารสนเทศในหน่วยงานมีลักษณะกระจัดกระจายยังไม่เป็นระบบซึ่งเสนอแนะให้มีการจัดทาฐานข้อมูลโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย 3) ด้านการพัฒนาความรู้ พบว่าบุคลากรมักยึดติดกับวัฒนธรรมแบบเดิมขององค์กรโดยขาดความคิดที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทางานเป็นแบบอื่น ข้อเสนอแนะ คือผู้บริหารควรกำหนดเป็นนโยบายขับเคลื่อนให้บุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้นอกจากนี้ควรมีการทางานเป็นทีมให้เกิดขึ้นในองค์กร 4) ด้านการถ่ายทอดความรู้หรือการแบ่งปันความรู้ พบว่าบุคลากรที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แม้มีความรู้มากแต่ขาดเทคนิคในการถ่ายทอด นอกจากนี้มักเก็บความรู้ไว้กับตนเองเพื่อสร้างความสำคัญให้กับตนเองข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการร่วมคิด ร่วมทำและร่วมการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน


คำสำคัญ

การบริหารจัดการความรู้