• อรพิน ชัยประสพ
    : รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The objectives of the production and quality Improvement of red dragon leather were to study the appropriate types and amounts of ingredients to produce fruit leather from red dragon fruits (Hylocereus polyrhizus). The use of 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2, 2.5 and 3.0 % pectin by juice weight and 0, 2.5, 5, 7.5, 10.0, 12.5, 15.0, 17.5 and 20.0 % tapioca starch by juice weight were studied. The results showed that using 2.5 -3.0 % pectin and 10.0 – 20.0 % tapioca flour could reduce significantly drying time at 60ºC from 16 hours to 9 - 10 and 11 -12 respectively (p<0.05). For the texture of the dragon fruit leather, the tensile force increased as the increased amounts of pectin and tapioca starch. The dragon fruit leather using 2.0 % pectin and 12.5 % tapioca flour had the longest extension distance. The use of three levels of pectin: 0.25, 0.50 and 0.75 % together with three levels of tapioca flour: 2.5, 5.0 and 7.5 % juice weight to produce dragon leather were studied. Sensory analysis using 7 - Point Hedonic Scale showed the significant difference (p<0.05) and found that the dragon fruit leathers using 0.75 % pectin together with 2.5 % tapioca flour had the highest scores in texture and overall preference of  5.27 and 5.44 respectively in the scale of probably much to much preference. Microorganisms and sugar crystallization had not been found in the dragon fruit leather packed in the laminated aluminum foil bag and stored at the room temperature for 60 days.


Keyword

red dragon fruits, fruit leather, pectin, tapioca starch, shelf life

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการผลิตและพัฒนาคุณภาพแก้วมังกรแผ่นมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตแก้วมังกรแผ่นจากผลแก้วมังกรพันธุ์สีแดง โดยศึกษาการใช้เพ็กทินที่ร้อยละ 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 ของน้ำหนักน้ำแก้วมังกร แป้งมันสำปะหลังที่ร้อยละ 0, 2.5, 5.0, 7.5, 10.0, 12.5, 15.0, 17.5 และ 20.0 ของน้ำหนักน้ำแก้วมังกร  พบว่า การใช้เพ็กทินที่ร้อยละ 2.5 – 3.0 แป้งมันสำปะหลังที่ร้อยละ 10.0 – 20.0 ใช้เวลาในการอบแห้งแก้วมังกรแผ่นที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ลดลงจาก 16 ชั่วโมง(ที่ร้อยละ0) เป็น 9 – 10   และ 11 - 12 ชั่วโมง ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในด้านเนื้อสัมผัสแก้วมังกรแผ่นมีค่าแรงดึงขาดเพิ่มขึ้นตามปริมาณเพ็กทินและแป้งมันสำปะหลัง ส่วนระยะการยืดตัวมีค่าสูงสุดเมื่อใช้เพ็กทินร้อยละ 2 และแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 12.5 และจากศึกษาการใช้เพ็กทิน 3 ระดับ คือ ร้อยละ 0.25, 0.50 และ 0.75 ร่วมกับแป้งมันสำปะหลัง 3 ระดับ คือ ร้อยละ 2.5, 5.0 และ 7.5 ของน้ำหนักน้ำแก้วมังกร พบว่า การใช้เพ็กทินร่วมกับแป้งมันสำปะหลังทุกอัตราส่วนใช้เวลาในการอบแห้งแก้วมังกรแผ่นเพียง 6.20 ชั่วโมง ค่าแรงดึงขาดและระยะการยืดตัวเพิ่มขึ้นตามปริมาณแป้งมันสำปะหลัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ลักษณะทางประสาทสัมผัสของแก้วมังกรแผ่นที่ใช้เพ็กทินร่วมกับแป้งมันสำปะหลังทดสอบโดยวิธี 7 - Point Hedonic Scale พบว่า มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แก้วมังกรแผ่นที่ใช้เพ็กทินร้อยละ 0.75 ร่วมกับแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 2.5 ของน้ำหนักน้ำแก้วมังกร มีคะแนนด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมสูงสุดเท่ากับ 5.27 และ 5.44 ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ชอบค่อนข้างมากถึงมาก แก้วมังกรแผ่นที่บรรจุในถุงลามิเนตอลูมิเนียมฟอยด์เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ไม่พบการเจริญของจุลินทรีย์และการตกผลึกของน้ำตาลตลอด 60 วันของการเก็บรักษา


คำสำคัญ

แก้วมังกรพันธุ์สีแดง ผลไม้แผ่น เพ็กทิน แป้งมันสำปะหลัง อายุการเก็บรักษา