• วันชัย ปานจันทร์
    : อาจารย์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

This research aims were to study the role of Ramkhamhaeng University in social instruction on the preparation towards ASEAN Community and comparing the role of Ramkhamhaeng University in social instruction on the preparation towards ASEAN Community, and to study the suggestion in following the role of Ramkhamhaeng University in social instruction on preparation towards ASEAN Community. The population and sample used in this research were 47,168 graduate students who are studying in the Master Degree at Ramkhamhaeng University, both in the Central Region and Provincial Region, each group for 400 persons, in the total of 2 groups, altogether there were 800 samples (Yamane, 1960). Statistics used in analyzing data were frequency, percentage, means, standard deviation, t-test, and One-Way ANOVA. The results were as follows: (1) Overall and all aspect, the role of Ramkhamhaeng University in social instruction on preparation towards ASEAN Community were found at a high level, (2) In the comparison of graduate students’ opinions about the role of Ramkhamhaeng University in social instruction on preparation towards ASEAN Community, the opinions of graduate students who differed in ages, careers, and region were found different at the statistically significant level of 0.05; the opinions of graduate students who differed in genders were found differently at the statistically significant level of 0.05.


Keyword

preparation towards ASEAN community, role of Ramkhamhaeng University

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อการชี้นำสังคมสู่การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อการชี้นำสังคมสู่การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติตามบทบาทของมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อการชี้นำสังคมสู่การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยรามคำแหงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 47,168 คน กลุ่มละ 400 คน รวม 2 กลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 800 คน (Yamane, 1960) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า (1) มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีบทบาทในการชี้นำสังคมสู่การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อการชี้นำสังคมสู่การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน พบว่า ช่วงอายุ อาชีพ และสถานที่ศึกษา มีบทบาทในการชี้นำสังคม โดยภาพรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ มีบทบาทในการชี้นำสังคม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


คำสำคัญ

การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน บทบาทมหาวิทยาลัยรามคำแหง