• สุทธิเดช ปรีชารัมย์
    : อาจารย์ หลักสูตรจุลชีววิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเก
  • เวสารัช สุนทรชัยบูรณ์
    : นักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
FULL TEXT

Abstract

The aim of this study was to select the proper organic solvents [isobutyl acetate (ISA), butyl acetate (BTA), chloroform (CHF), tributyl phosphate (TBP) and their mixtures] and to find the proper proportions for ethanol determination with the dicromate colorimetric method and practical application for laboratory scale. The results showed that TBP:ISA (25:75 by volume) was the best ratio of the solvent for ethanol extraction among different solvents and their mixtures (p<0.05). The ethanol extraction efficiency of selected solvents from fermented YPD medium at 2% and 10% (by weight) glucose using Saccharomyces cerevisiae 5019, compared with TBP, was investigated by gas chromatography (GC). The results showed that the selected solvent gave the high accuracy values, as well as that of GC (p<0.05). These results indicated that TBP:ISA (25:75 by volume) showed high feasibility for ethanol extraction at laboratory scale and could be developed for industrial scale in the future.


Keyword

dicromate colorimetic method, ethanol, extraction, solvent

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวทำละลายอินทรีย์ที่เหมาะสมจาก 4 ชนิดคือ Isobutyl acetate (ISA), Butyl acetate (BTA), Chrolofrom (CHF), Tributyl phosphate (TBP) และสารผสมของตัวทำละลายเหล่านี้ และหาสัดส่วนที่เหมาะสมในการสกัดเอทานอลร่วมกับวิธีไดโครเมต (dicromate colorimetric method) และความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ในระดับห้องปฏิบัติการ จากการทดลองพบว่า TBP:ISA (25:75 โดยปริมาตร) เป็นตัวทำ ละลายที่สามารถสกัดเอทานอลได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตัวทำละลายอื่นที่เหลือ (p<0.05) จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพการสกัดเอทานอลของตัวทำละลายในจากอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว YPD ที่ระดับความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส 2% และ 10% โดยน้ำหนักที่ผ่านการหมักด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae 5019 เปรียบเทียบกับ TBP พบว่าเมื่อตรวจสอบโดยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟฟี่ (GC) ให้ค่าความเข้มข้นของเอทานอลที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในระดับห้องปฏิบัติการ และสามารถนำไปพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้


คำสำคัญ

วิธีไดโครเมต เอทานอล การสกัด ตัวทำละลาย