• นภฉัตร ธารีลาภ
    : อาจารย์ สายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • นวรัตน์ วรอวยชัย
    : อาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เรืองเดช ธงศรี
    : นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
FULL TEXT

Abstract

In this research, corrosion properties of two sintered cermets, namely TiC-Ni and TiC-Ni-WC, were investigated. These cermets were produced by the powder metallurgy process. The test of the corrosion of the sintered cermets was conducted by using the anodic polarization technique with 0.3M H2SO4 solution; it revealed that the polarization curve of the sintered cermets showed two passive regions. The passive film of hard TiC phase happened in the first passive region at low potential, whereas the passive film of the Ni metal binder appeared in the second region at high potential. Moreover, the total passive region increased with the addition of WC content. After the corrosion test, the Ni metal binder phase was hardly observed in the sintered TiC-Ni cermets, while a small amount of the Ni metal binder remained in the sintered TiC-Ni-WC cermets. Therefore, the addition of WC increased corrosion resistance of TiC-Ni based cermet, indicated by passive region enlargement.


Keyword

corrosion, passive film, powder metallurgy, TiC-Ni cermet, tungsten carbide

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทดสอบสมบัติการกัดกร่อนของวัสดุเซอร์เมตกลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิล (TiC-Ni) และวัสดุเซอร์เมตกลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิล-ทังสเตนคาร์ไบด์ (TiC-Ni-WC) โดยวัสดุเซอร์เมตทั้งสองผ่านการเตรียมด้วยวิธีทางโลหะวิทยา (powder metallurgy) ผลการทดสอบการกัดกร่อนของวัสดุเซอร์เมตโดยใช้เทคนิคอาโนดิกโพลาไรเซชัน (anodic polarization) ในสภาวะกรดซัลฟูริกความเข้มข้น 0.3 โมลาร์ พบว่าเส้นโค้งโพลาไรชันของวัสดุเซอร์เมตมีลักษณะของการสร้างฟิล์มพาสซีฟ 2 ช่วง คือ เกิดฟิล์มพาสซีฟของไทเทเนียมคาร์ไบด์ในช่วงศักย์ไฟฟ้าต่ำและเกิดฟิล์มพาสซีฟของโลหะนิกเกิลเกิดในช่วงศักย์ไฟฟ้าสูง นอกจากนี้การเติมสารประกอบทังสเตนคาร์ไบด์ในปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลให้ช่วงของฟิล์มพาสซีฟของวัสดุเซอร์เมตกว้างขึ้น ภายหลังจากการทดสอบการกัดกร่อนไม่สามารถตรวจพบโลหะนิกเกิลหลงเหลือในวัสดุเซอร์เมตกลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิล แต่พบโลหะนิกเกิลหลงเหลือในวัสดุเซอร์เมต กลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิล-ทังสเตนคาร์ไบด์ ดังนั้นการเติมสารประกอบทังสเตนคาร์ไบด์ในวัสดุเซอร์เมตกลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิลนั้น มีผลต่อพฤติกรรมการกัดกร่อนของวัสดุเซอร์เมตกลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิล โดยทำให้ช่วงของฟิล์มพาสซีฟและสมบัติด้านความต้านทานการกัดกร่อนเพิ่มขึ้น


คำสำคัญ

การกัดกร่อน ฟิล์มพาสซีฟ โลหะผงวิทยา วัสดุเซอร์เมตกลุ่มไทเทเนียมคาร์ไบด์-นิกเกิล ทังสเตนคาร์ไบด์