• ณัชวิชญ์ ติกุล
    : รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
FULL TEXT

Abstract

Environmental awareness in the educational sector is increasing, including Maejo University, which has set a goal to become a green university. Part of being a green university is having environmentally friendly buildings. Therefore, this research assessed the green buildings in Maejo University, using an existing building assessment methodology from the United States (called LEED-EBOM), a prototype of assessment methodology for evaluating green universities in many countries. Moreover, this research proposed specific improvements of the buildings that would make Maejo a green university. Twenty-four lecture and office buildings in Maejo University were evaluated on five issues: sustainability of sites, water efficiency, energy and atmosphere, materials and resources, and indoor environmental quality; the methods included interviews, analysis of secondary sources, calculation, and measurement by automatic equipment. It was found that the buildings in Maejo University earned a 24% rating, according to the LEED-EBOM standard. The most important issues are sustainable use of materials and resources, and water efficiency. Therefore, the researchers proposed ways to improve the buildings with the use of the “plan-do-check-act” (PDCA) principle, which in some aspects may have no cost of operation. They can be done with a plan of action (that focuses on the environment), changing the behavior of the buildings’ occupancy, and by implementing the plan seriously. The monitoring of the implementation and evaluation in order to improve the execution of the plan in all aspects of green building elements should be carried out. Doing so may increase the scores to 58% and, more importantly, reduce the use of resources and the infrastructure cost to the university.


Keyword

building assessment, environment, green building, green university, Maejo University

บทคัดย่อ

ปัจจุบันภาคการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้มีเป้าหมายที่จะไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวคือการมีอาคารภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพความเป็นอาคารสีเขียวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยประยุกต์ใช้หลักการประเมินอาคารที่มีอยู่แล้วของประเทศสหรัฐอเมริกา (LEED-EBOM) ซึ่งเป็นหลักการส่วนหนึ่งสำหรับประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวของหลายประเทศ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางปรับปรุงอาคารเพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยทำการศึกษาอาคารภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้จำนวน 24 อาคาร ที่มีการใช้พื้นที่เป็นอาคารเรียนและอาคารสำนักงาน จากผลการประเมินความเป็นอาคารสีเขียวใน 5 ประเด็นได้แก่ การดูแลที่ตั้งอาคาร การใช้น้ำ การใช้พลังงาน การใช้วัสดุและทรัพยากร และคุณภาพสิ่งแวดล้อมในอาคาร โดยการสัมภาษณ์ การสำรวจ การวิเคราะห์เอกสาร การคำนวณ และการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ พบว่าอาคารภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประมาณ 24.4% เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงมากที่สุดคือการใช้วัสดุและทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงอาคารโดยใช้หลักการ PDCA ซึ่งในบางประเด็นไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  เพียงเริ่มต้นจากการวางแผนการดำเนินการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้อาคารอย่างระมัดระวังมากขึ้น และต้องมีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้อย่างจริงจัง พร้อมทั้งมีการตรวจสอบผลการดำเนินการและประเมินผลเพื่อนำไปปรับปรุงแผนการดำเนินการ ในทุกด้านขององค์ประกอบอาคารสีเขียว  ซึ่งจะสามารถทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้สามารถเพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นเป็น 58% ที่สำคัญมากกว่านั้นยังสามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรและลดค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยฯ ลงได้


คำสำคัญ

การประเมินอาคาร สิ่งแวดล้อม อาคารสีเขียว มหาวิทยาลัยสีเขียว มหาวิทยาลัยแม่โจ้