• ธิติพร มะณี
    : นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • มาเรียม นะมิ
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • อัมพล ชูสนุก
    : อาจารย์ ดร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
FULL TEXT

Abstract

The objectives of this research were to develop and validate a causal relationship model of influence of perceived justice on customers’ trust, satisfaction, word of mouth and revisits to Asita Eco Resort. The variables in this investigation consisted of the following: perceived justice as the independent variable; trust and satisfaction as mediating variables; and word of mouth and the revisits of the customers as dependent variables. The researcher used the quantitative method, which involved empirical research. The instrument of research was a questionnaire used to collect data from 410 of Asita Eco Resort’s customers. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and structural equation model analysis. It was found that the model was consistent with the empirical data. The Goodness of Fit Measure was found to be p–value = 0.070; Goodness of Fit Index (GFI) = 0.974; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.923; and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.021. It also revealed that (1) the perceived justice had a positive and direct influence on the trust of Asita Eco Resort’s customers; (2) the perceived justice had a positive and direct influence on the satisfaction of Asita Eco Resort’s customers; (3) customers’ trust had a positive and direct influence on their satisfaction; (4) customers’ trust had a positive and direct influence on word of mouth promotion by customers; (5) customers’ trust had a positive and direct influence on the revisits of previous customers; (6) customers’ satisfaction had a positive and direct influence on word of mouth promotion by customers; and (7) customer satisfaction had a positive and direct influence on the revisits of previous customers.


Keyword

Perceived justice, Revisited, Satisfaction, Trust, Word of mount

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของการรับรู้ความยุติธรรมต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าของอสิตา อีโค รีสอร์ท ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแปรอิสระคือ การรับรู้ความยุติธรรม ตัวแปรคั่นกลาง ได้แก่ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความพึงพอใจ และตัวแปรตาม ได้แก่ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าใช้บริการที่อสิตา อีโค รีสอร์ท จำนวน 410 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาแสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี  ค่าความน่าจะเป็น (p–value) เท่ากับ 0.070 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.974 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.923 ค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.021 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า (1) การรับรู้ความยุติธรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของลูกค้า อสิตา อีโค รีสอร์ท (2) การรับรู้ความยุติธรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าอสิตา อีโค รีสอร์ท (3) ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าอสิตา อีโค รีสอร์ท (4) ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการบอกต่อของลูกค้าอสิตา อีโค รีสอร์ท (5) ความไว้เนื้อเชื่อใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าอสิตา อีโค รีสอร์ท (6) ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการบอกต่อของลูกค้าอสิตา อีโค รีสอร์ท และ (7) ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าอสิตา อีโค รีสอร์ท


คำสำคัญ

การรับรู้ความยุติธรรม การบอกต่อ การกลับมาใช้บริการซ้ำ ความพึงพอใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ