• นิพล แสงศรี
    : อาจารย์ สาขาวิชาสหวิทยาการอิสลาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
FULL TEXT

Abstract

This research article is part of a descriptive research on the Islamic finance system in ASEAN; it analyzes the basic principles, financial transactions and financial products by collecting information and concepts from al-Qur’an, al-Hadith and a variety of other documents, including primary, secondary and tertiary sources. The contents were systematically analyzed, synthesized and divided into several subjects. The research found that the Islamic finance system has to operate under the tenets of Islamic law, which are found in (1) al-Quran, (2) al-Sunnah, (3) al-Ijtihad, and (4) al-Qiyas, so financial transactions are prohibited in many respects, including interest (Riba), risk (Khatar), gambling (Qimar), fluctuations (Gharar) and haram business or investment. The Islamic financial system involves banks, insurance companies, mutual funds, investment banking and financial institutions for leasing. The system of financial products and services comprise savings accounts, time deposits and overdrafts, like those of commercial banks. However, there is a difference, in that the financial products are to strictly abide by Shari’ah, law while some products can be used without modification.


Keyword

basic principle, financial product, financial transaction, Islamic finance system

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงพรรณนาเรื่อง ระบบการเงินอิสลามในอาเซียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักการพื้นฐาน ธุรกรรมการเงิน และผลิตภัณฑ์การเงิน โดยรวบรวมข้อมูลจากอัลกุรอาน อัลหะดีษ เอกสารที่เกี่ยวข้องในขั้นปฐมภูมิ ขั้นทุติยภูมิ และขั้นตติยภูมิ ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล ตีความหลักฐานอย่างมีระเบียบ สังเคราะห์ และจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเงินอิสลามมีหลักการพื้นฐานมาจากกฎหมายชะรีอะฮ์ที่สำคัญได้แก่ (1) อัลกุรอาน (2) อัสสุนนะฮ์ (3) อัลอิจญ์ติฮาด (4) และอัลกิยาส การทำธุรกรรมทางการเงินจึงถูกห้ามปฏิบัติหลายประการได้แก่ ดอกเบี้ย (riba) ความเสี่ยง (khatar) การพนัน (qimar) ความผันผวน (gharar) และการประกอบธุรกิจหรือการลงทุนที่ศาสนาห้าม (haram bussiness) ระบบธุรกรรมทางการเงินอิสลามอาศัยธนาคารพาณิชย์อิสลาม (Masaref al-Islamiyah) บริษัทประกัน (al-Sharikah al-Tamin) กองทุนรวม และวาณิชธนกิจ (al-Musharakah and al-Mudharabah) รวมถึงสถาบันการเงินเกี่ยวกับลิสซิ่ง (Leasing) เป็นตัวกลางสำคัญทางระบบการเงินอิสลาม โดยผลิตภัณฑ์และบริการที่พบได้แก่ บัญชีออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเบิกเกินบัญชีเหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่วไปแต่มีข้อแตกต่างกันคือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินยึดถือปฏิบัติตามหลักชะรีอะฮ์ ขณะที่ผลิตภัณฑ์บางรายการนำใช้โดยไม่ต้องแก้ไข


คำสำคัญ

หลักการพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์การเงิน ธุรกรรมการเงิน ระบบการเงินอิสลาม