• มาลินี บุญยรัตพันธุ์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this research was to evaluate the Master’s Degree of Education Program in Innovative Curriculum and Learning Management (A.D. 2012 Revised Edition) in the following aspects: (1) curriculum content, (2) curriculum input, (3) curriculum process, and (4) curriculum output. The sample groups consisted of 12 instructors teaching in the Master’s Degree of Education Program, as mentioned above, 70 current students and 60 graduates, as well as the employers of 79 graduates, plus three curriculum experts. The research instruments comprised the interview form for collecting the curriculum experts’ opinions toward the program and a five-level rating scale questionnaire for collecting the opinions of the students, the graduates and the graduates’ employers. The questionnaires were sent and collected back by post. The data were analyzed into percentage, mean and standard deviation. The research revealed several significant findings: (1) In the content evaluation, the overall assessment of the instructors and the experts was at high level. All courses in the curriculum assisted the students to achieve the curriculum’s purposes and were related to the objectives and the current social situation. (2) As for the input evaluation, the overall assessment of the instructors, the students, the graduates and the curriculum experts was at high level. The content and the learning experience from several courses (CLM 7604 Research to Develop Learning Management and Learners, CLM 6603 Curriculum Development, CLM 6607 Innovation and Technology in Learning Management) could be used for the students’ job development. The process of recruiting new students was based on the applicants’ background knowledge and abilities at a high level. The students in this program possessed knowledge-seeking ability and a good background in learning management. The instructors had working experience in relation to the program at the highest level. (3) Regarding the process evaluation, the overall assessment of the instructors, the students and the graduates was at the highest level. They agreed that various teaching methods were used; students were given chances to seek knowledge by themselves and were informed of the course’s objectives and the learning evaluation criteria before starting the courses. In addition, various evaluation methods and instruments were utilized and concentrated on the course objectives and content; the information and content from all courses were integrated and applied in the comprehensive examination at the end of the program. Furthermore, the knowledge and content from all courses and the research methodology experience were combined to fulfill the students’ theses and independent studies. (4) In the product evaluation, concerning the curriculum effectiveness and efficiency, the overall assessment of the graduates’ employers was at a high level. They pointed out that the graduates in the Innovative Curriculum and Learning Management program were able to develop the innovations that suited learning management and to bring the knowledge and experience from their studies into use at work. Moreover, in the product evaluation concerning efficiency, the overall assessment of the graduates and the graduates’ employers was at the highest level. They insisted that the graduates possessed ethical conduct in curriculum and learning management, and had sound knowledge and understanding in the field of curriculum and learning management.


Keyword

curriculum evaluation

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ เพื่อประเมินบริบทของหลักสูตร เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร เพื่อประเมินกระบวนการของหลักสูตร เพื่อประเมินผลผลิตของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ที่สอนในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 จำนวน 12 คน นักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 จำนวน 70 คน  บัณฑิตที่เรียนในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 จำนวน 60 คน  ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 79 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  แบบสอบถามความคิดเห็นนักศึกษา บัณฑิต  และผู้ใช้บัณฑิต มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ และมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนำส่งด้วยไปรษณีย์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ด้านบริบท จากการประเมินของอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก รายวิชาทั้งหมดในหลักสูตรช่วยให้นักศึกษาบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการจัดรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรสอดคล้องกับสภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบัน 2. ด้านปัจจัยนำเข้า จากการประเมินของอาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า เนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดในแต่ละรายวิชาสามารถนำไปพัฒนางานที่นักศึกษารับผิดชอบอยู่ได้ ได้แก่ วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (CLM 7604) วิชาการพัฒนาหลักสูตร (CLM 6603) วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ (CLM 6607) อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่า กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษามีการพิจารณาจากคุณสมบัติและความรู้ความสามารถ นักศึกษาที่รับเข้ามามีความสามารถในการค้นคว้า มีพื้นฐาน ความรู้ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อาจารย์ที่สอนในหลักสูตรมีประสบการณ์การทำงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตร 3. ด้านกระบวนการ จากการประเมินของอาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต มีความเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ มีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และนักศึกษาได้รับทราบจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์รายวิชา ในส่วนของการวัดและประเมินผล อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต เห็นว่า มีการแจ้งแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาก่อนเริ่มเรียน มีวิธีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาและเนื้อหาวิชา มีวิธีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีและเครื่องมือที่หลากหลาย การสอบประมวลความรู้ มีการส่งเสริมการบูรณาการความรู้จากทุกวิชา ข้อสอบครอบคลุมความรู้จากทุกวิชาในหลักสูตรและส่งเสริมให้นักศึกษาประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในหลักสูตร มาตอบคำถาม การทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ นักศึกษาได้ใช้ความรู้จากวิชาในหลักสูตร ได้นำความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยไปใช้ นักศึกษาได้มีโอกาสค้นคว้างานวิจัย 4. ด้านผลผลิต แบ่งเป็นการประเมินด้านผลกระทบและด้านประสิทธิผล พบว่า ด้านผลกระทบจากการประเมินของผู้ใช้บัณฑิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่ามหาบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สามารถพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนรู้ไปใช้งาน ด้านประสิทธิผลจากการประเมินของบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ใช้บัณฑิตและบัณฑิต พบว่า บัณฑิตมีจริยธรรมทางหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้


คำสำคัญ

การประเมินหลักสูตร