• ศศิ อินทโกสุม
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this paper is to report the research results regarding a study of the classification and the characteristics of the errors in meaning transfer observed in five translations by Master of Arts (French-Thai Translation) students, Ramkhamhaeng University, which were used as case studies. The research findings reveal that 1) erroneous rendition of meaning in the students’ translations arose almost equally from their defective linguistic and translational competences in the percentage ratio of 48.51 : 50.01, while their lack of encyclopedic knowledge was revealed to be insignificant at 1.48%; 2) the five most-often committed linguistic mistakes leading to incorrect translation involved misunderstanding of lexical items (words and expressions) (22.48%), polysemy (7.54%), syntax (6.22%), pronouns and anaphora (4.20%), and tenses and moods (4.04%); and 3) the students’ inadequate translational competence resulting in inaccurate transfer of meaning appeared mainly in the following five aspects: free translation, under-translation, non-analysis of cognitive context, information omission, and non-application of logical reasoning, in the respective percentages of 14.99%, 7.45%, 5.66%, 4.96%, and 4.67%. The study led to pedagogical suggestions emphasizing correlation between linguistic, extra-linguistic, and translational knowledge to understand and render the meaning of original texts into translations, which will help the students avoid a certain amount of errors in meaning transfer resulting from insufficient linguistic, translational, and encyclopedic competences.


Keyword

Errors in translation, French-Thai translation, Problems in translation, Translation, Translation teaching

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการศึกษา จำแนกประเภทและอธิบายสาเหตุของปัญหาการแปลผิดความหมายในงานแปลของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยจำนวน 5 เรื่องผลการวิจัยสรุปได้ว่า1)ข้อผิดพลาดด้านความหมายในงานแปลของนักศึกษาเกิดจากปัญหาด้านความรู้ภาษาฝรั่งเศสและปัญหาด้านหลักการแปลในสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ร้อยละ 48.51 : 50.01 ส่วนการขาดคลังความรู้เป็นเพียงปัญหาปลีกย่อยที่ร้อยละ 1.482) ปัญหา ด้านความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการแปลผิดความหมาย 5 ลำดับแรก ได้แก่ คำศัพท์-สำนวนยาก (ร้อยละ 22.48) คำไวพจน์ (ร้อยละ7.54) โครงสร้าง (ร้อยละ 6.22) คำสรรพนาม/คำอ้างอิง (ร้อยละ 4.20) กาลและมาลา (ร้อยละ 4.04) และ 3) ข้อบกพร่องด้านหลักการแปลของนักศึกษาซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับในบทแปลคลาดเคลื่อน 5 ลำดับแรก ได้แก่ การแปลอิสระ การแปลขาด การไม่วิเคราะห์บริบทความหมาย การละข้อมูล และการไม่ใช้ตรรกะวิเคราะห์ความสมเหตุสมผล โดยมีสัดส่วนของข้อผิดพลาดที่ร้อยละ 14.99, 7.45, 5.66, 4.96 และ 4.67 ตามลำดับผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรฯ ซึ่งเน้นการเชื่อมโยงความรู้ด้านภาษา ความรู้นอกเหนือภาษาและหลักการแปลเข้าด้วยกันในการทำความเข้าใจต้นฉบับและถ่ายทอดความหมายในบทแปล เพื่อช่วยให้นักศึกษาหลีกเลี่ยงการแปลผิดความหมายอันเกิดจากข้อบกพร่องของสมรรถนะด้านภาษา ด้านหลักการแปลและด้านคลังความรู้ได้บางส่วน


คำสำคัญ

การแปลผิดความหมาย การแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย ปัญหาการแปล การแปลการสอนแปล