• นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์
    : อาจารย์ ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this research was to select the optimal highway route for raw materials from a warehouse to a factory in another province; it is a case study of the routes from a warehouse containing the material in Chonburi to an instant food factory in Bang Bua Thong in Nonthaburi for manufacturing. The factors had been collected for determining the criteria before the factors were categorized by factor analysis. Finally, the analytic hierarchy process was used for selecting the optimum raw materials route. The results show that the factors for selecting the route are deterioration or damage along the route, the number of lanes per direction, cost of transportation, availability of material handling equipment, average width of lanes, transit time, damage and loss of goods en route, traceability, reversal of goods and burglary, unexpected costs, traffic regulations, traffic volume and flexibility, and “black spots” on the route. The criteria can be classified into five groups: risk of freight damage, physical characteristics of the route, flexibility of the route and traffic regulations, transit time and traffic characteristics, and transportation costs. The results demonstrate that Highway 7 and Highway 9 is the best route for this case; Highway 7 and Rangsit – Nakhon Nayok Road is the second; Highway 7 and Bang Bua Thong Road is the third alternative route; and Highway 7 and Ram Intra – Chaeng Watthana Road is the last alternative route for this case.
 


Keyword

analytic hierarchy process, factor analysis, selecting raw material rout

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเลือกเส้นทางการขนส่งวัตถุดิบทางถนนของโรงงานกรณีศึกษาจากคลังสินค้า จังหวัดชลบุรี เพื่อมาทําการผลิตสินค้าที่โรงงานกรณีศึกษา ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารสําเร็จรูป ตั้งอยู่ที่ อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยรวบรวมปัจจัยเพื่อกําหนดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกเส้นทาง จากนั้นทําการจัดกลุ่มให้กับปัจจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์ปัจจัย และสุดท้ายนํากระบวนการลําดับขั้นเชิงวิเคราะห์ในการเปรียบเทียบความสําคัญเพื่อเลือกเส้นทางการขนส่งวัตถุดิบที่เหมาะสม โดยผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเส้นทาง ได้แก่ 1) การเสื่อมสภาพ หรือความชํารุดของเส้นทาง 2) จํานวนช่องจราจรต่อทิศทาง 3) ต้นทุนการขนส่งสินค้า 4) ความพร้อมของเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้า 5) ความกว้างของช่องจราจรโดยเฉลี่ย 6) ระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้า 7) ความเสียหาย หรือสูญหายของสินค้าในเส้นทางและการขนถ่ายสินค้า 8) การสอบกลับได้ของสินค้าและการดําเนินการส่งกลับ 9) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการขนส่ง 10) กฎระเบียบการจราจรและปัญหาทางการเมือง 11) สภาพการจราจร หรือปริมาณการจราจรในเส้นทาง 12) ความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเส้นทาง และ 13) จํานวนจุดอันตราย โดยเมื่อนําปัจจัยทั้งหมดกําหนดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความเสี่ยงต่อตัวสินค้า กลุ่มคุณลักษณะทางกายภาพของเส้นทาง กลุ่มความยืดหยุ่นของเส้นทางและกฎระเบียบ กลุ่มระยะเวลาในการขนส่งสินค้าและสภาพการจราจร และกลุ่มต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ เส้นทางหมายเลข 7 และหมายเลข 9 ฝั่งตะวันตกเส้นทางหมายเลข 7 และถนนรังสิต-นครนายกมีความเหมาะสมเป็นลําดับที่สอง เส้นทางหมายเลข 7 และถนนบางบัวทองมีความเหมาะสมเป็นลําดับที่สาม และเส้นทางหมายเลข 7 และถนนรามอินทรา-แจ้งวัฒนะมีความเหมาะสมเป็นลําดับสุดท้าย


คำสำคัญ

กระบวนการลําดับขั้นเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์ปัจจัย การเลือกเส้นทางการขนส่งวัตถุดิบ