• ยิ่งยง เมฆลอย
    : อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
FULL TEXT

Abstract

The study of harvesting intervals of sweet sorghum (Sorghum bicolor (Linn) Moench) varieties Keller at age 60, 75 and 90 days has grown up significantly decreased. The sweetness average 9.67, 13.33 and 16.00 brix respectively. Hydrogen cyanic acid at age 60 and 75 days were average 1.76 and 0.86 mg respectively, with no hydrochloric acid cyanic in sweet sorghum at age 90 day. Sweet sorghum at age 60 day on average, the highest protein content of 5.56 percent, followed by sorghum at the age of 75 days and 90 days, the protein content is 5.04 and 4.13 percent respectively, while the average fat did not significantly.
The experiment ferment corn, sweet sorghum and sweet sorghum bagasse period 14, 21 and 28 days to produce silage. The result of evaluating the physical characteristics of the three types of plant foods that ferment 28 day period, all three types of silage quality is very good. The nutritional value of corn silage are the most nutritious. While sweet sorghum silage nutritional value similar to corn silage. It can be produce as animal feed.
 


Keyword

silage, sweet sorghum

บทคัดย่อ

การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างหวาน (Sorghum bicolor (Linn) Moench) พันธุ์ Keller ที่อายุ 60 75 และ 90 วัน มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ มีความหวานเฉลี่ย 9.67 13.33 และ 16.00 บริกซ์ ตามลําดับ สําหรับปริมาณกรดไฮโดรไซยานิกที่อายุ 60 และ 75 วัน มีค่าเฉลี่ย 1.76 0.86 มิลลิกรัม ตามลําดับ โดยไม่พบกรดไฮโดรไซยานิกในข้าวฟ่างหวานที่อายุ 90 วัน ข้าวฟ่างหวานที่อายุ 60 วัน มีปริมาณโปรตีนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 5.56 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ข้าวฟ่างที่อายุ 75 วัน และ 90 วัน มีปริมาณโปรตีน คือ 5.04 และ 4.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยคาร์โบไฮเดรตไม่แตกต่างกันทางสถิติ การทดลองหมักต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นข้าวฟ่าง-หวาน และชานข้าวฟ่างหวานที่ระยะเวลา 14 21 และ 28 วัน เพื่อผลิตอาหารหยาบหมัก ผลจากการประเมินคุณภาพลักษณะทางกายภาพของพืชอาหารหมักทั้ง 3 ชนิด ที่ระยะเวลาหมัก 28 วัน พืชหมักทั้ง 3 ชนิด มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ในด้านคุณค่าทางโภชนาการข้าวโพดหมักมีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด ขณะที่ข้าวฟ่างหวานหมักมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับข้าวโพดหมัก จึงสามารถนํามาผลิตเป็นอาหารสําหรับเลี้ยงสัตว์ได้


คำสำคัญ

อาหารหยาบหมัก ขาวฟางหวาน