• ซุกรีย๊ะห์ หะยีสะอะ
    : นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

The objectives of this study are 1) to examine the educational management of the Demonstration School of Prince of Songkla University (Pattani Campus), 2) to study the management for the educational development to enable the school to participate in the ASEAN Community (AC) and 3) to consider the problems and guidelines for the educational development. Information in various documents was reviewed by the researcher. Further data was also collected by the researcher from 31 informants with the use of a qualitative research approach. The three principal findings are as follows. 1) According to the educational management of the school, the school’s management focuses on good governance and decentralization. Each party can use all of their abilities to work and manage activities in accordance with the school’s annual policies and plans; moreover, the development processes comply with the principle of plan-do-check-act (PDCA). 2) In the management aspect, it was found that the school was prepared in different terms; i.e., understanding about the AC, language, curriculum, and educational freedom. Regarding self-adaptation, it was found that the school valued various terms, such as language, understanding about the AC, culture, and the lifestyles of the AC’s members. In terms of effects, positive effects led to education coordination, learning among the member countries, and intellectual stimulation for students. Negative effects were educational competition and the linguistic deficiency of students or personnel. In the student quality aspect, it was found that the school has a managerial direction toward preparation for joining the AC because the school has specific processes for admitting new students. In terms of teacher quality, teachers of different courses had different qualities. The teachers teaching foreign languages could use English, while other teachers had weaknesses in foreign languages (especially languages for academic purposes). 3) Regarding problems and solutions for the educational development for the school to join the AC, it was found that (a) the problems of the educational development for joining the AC were as follows: firstly, the school had unclear guidelines and plans for the development; secondly, some personnel were not seriously aware of the AC, and finally the education under the policies of the Ministry of Education was not integrated, had limited knowledge, had too many subjects, and excessively focused on theories; and (b) regarding the solutions for the education development, in terms of management, the administrators should have clear guidelines for implementing plans and achieving goals. Regarding personnel and students, the personnel’s abilities should be improved.


Keyword

ASEAN community, education management, management development

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาการบริหารการศึกษาของโรงเรียนสาธิตฯ ศึกษาการบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสาธิตฯ และศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสาธิตฯ ผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญรวมทั้งสิ้น 31 คน โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารการศึกษาของโรงเรียนสาธิตฯ ภาพรวมของการบริหาร เน้นการบริหารโดยในแต่ละฝ่ายผู้บริหารจะยึดหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาลและการกระจายอำนาจ แต่ละฝ่ายสามารถทำงานและบริหารงานได้อย่างเต็มที่ตามนโยบายและแผนปฏิบัติงานของโรงเรียนที่กำหนดไว้แต่ละปี และกระบวนการพัฒนายึดหลัก PDCA ทั้งนี้ในการบริหารยังมีคณะกรรมการช่วยกันควบคุม 2) การบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสาธิตฯ พบว่ามีการส่งเสริมด้านภาษา ด้านหลักสูตร และมีการเปิดเสรีทางการศึกษา ส่วนด้านการปรับตัว พบว่า ให้ความสำคัญในการปรับตัวในด้านภาษา ด้านการเรียนรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอาเซียน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนด้านผลกระทบ ผลกระทบทางบวก ทำให้เกิดความร่วมมือกันในด้านการศึกษา ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดการกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองฯลฯ ผลกระทบทางลบ เกิดการแข่งขันกันในการศึกษา การด้อยในเรื่องภาษาของนักเรียน หรือบุคลากรทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ฯลฯ ด้านคุณภาพนักเรียน ทางโรงเรียนสาธิตฯ มีแนวทางการบริหารเป็นไปในทิศทางที่มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่แล้วเพราะทางโรงเรียนมีความเข้มงวดในการเข้ารับนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อโดยการคัดเลือกในลักษณะที่มีความเข้มข้น และด้านคุณภาพครู คุณภาพครูอาจจะมีความแตกต่างกัน ในแต่ละรายวิชาโดยถ้าเป็นครูในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่ถ้ากลุ่มสาระอื่นๆ อาจจะมีความด้อยในด้านภาษาบ้างโดยเฉพาะภาษาที่เป็นทางการเพื่อใช้ในการสื่อสารทางวิชาการ 3) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสาธิตฯ โดยปัญหาที่พบคือ ทางโรงเรียนมีแนวทางและแผนงานการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่อาเซียนที่ยังไม่ชัดเจน บุคลากรครูบางส่วนไม่ค่อยตระหนักถึงเรื่องอาเซียน การศึกษาตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่มีลักษณะของการเรียนรู้ที่ไม่บูรณาการ ส่วนแนวทางการพัฒนาการศึกษา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป ผู้บริหารควรมีแนวทางการขับเคลื่อน แผนงาน เป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน ควรส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรครูให้มีความสามารถที่มากขึ้น


คำสำคัญ

ประชาคมอาเซียน การบริหารการศึกษา การบริหารการพัฒนา