Confirmatory Factor Analysis of Sexual Risk Behavior of Homosexual Male Students
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาชายรักชาย
This study aimed 1) to investigate homosexual male students’ sexual risk behavior and then 2) to examine the consistency of the sexual risk behavior model and empirical data with a snowball technique among 200 homosexual male students from higher education institutions in the northeastern region of Thailand. The instrument’s questionnaire was considered through the content validity (IOC greater than 0.50) and the Cronbach’s Alpha coefficient of .83. The research results are as follows: 1) homosexual male students showed sexual risk behavior at a high level, considering seven aspects that were found at a high level, while six remaining aspects were at a moderate level. The confirmatory factor analysis of the sexual risk behavior model consists of three main factors: a) unsafe sex factors consist of five sub-factors (primary satisfaction sex, negotiated sex, primary sex and same sex without a condom and access to water-based lubricant sachets), and they rank from the highest to the lowest factor loadings of .85, .82, .76, .76, and .76. 2) Having sex with multiple partners, unprotected sex and risky sexual behaviors factors consisted of four sub-factors: primary satisfaction sex, negotiated sex, Bacchanalian orgies, and having sex with another man; the factor loading ranking from the highest to the lowest were .89, .86, .85, and .70. 3) The risky sexual behaviors factors consisted of four sub-factors (having same sex, using sexual enhances, oral sex, and anal sex), ranking from the highest to the lowest factor loadings of .91, .76, .72, and .66. The results of the secondary order confirmatory factor analysis revealed that three factors were close in importance, with the factor loading ranking from the highest to the lowest at .89, .85, and .81. The second main result is that the validation of a goodness of fit model yielded a chi-square of 58.47, p = .051 at a degrees of freedom of 30 (χ2/df =1.94, GFI = .98, AGFI = .94, CFI=1.00, RMR = .04, RMSEA = .04). It can be concluded that the variables in the sexual risk behaviors model are consistent with the empirical data.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาชายรักชาย และตรวจสอบความ-สอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาชายรักชายกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชายรักชายในสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 200 คน ที่ได้มาโดยใช้เทคนิคการสร้างเครือข่าย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ผ่านการหาความเที่ยงตรงโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องภายในตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาชายรักชายมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศโดยรวมอยู่ ในระดับสูง เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ย่อยพบว่าอยู่ในระดับสูง 7 ด้าน ที่เหลืออีก 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) องค์ประกอบการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ ด้านประสบการณ์การไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับบุคคลที่พึงพอใจเป็นครั้งแรกที่เจอกัน ด้านประสบการณ์การไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ขายบริการ ด้านประสบการณ์การไม่ใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ด้านประสบการณ์การไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และด้านประสบการณ์การไม่ใช้สารหล่อลื่นกับถุงยางอนามัยโดยเฉพาะ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.85, 0.82, 0.76, 0.76 และ 0.76 ตามลำดับ 2) องค์ประกอบการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ ด้านการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่พึงพอใจเป็นครั้งแรกที่เจอกัน ด้านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ขายบริการ ด้านประสบการณ์เปลี่ยนคู่ร่วมเพศ และด้านประสบการณ์มีเพศสัมพันธ์หมู่ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.89, 0.86, 0.70 และ 0.85 ตามลำดับ 3) องค์ประกอบการมีกิจกรรมเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีการแพร่เชื้อโรค ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้-ย่อย ได้แก่ ด้านการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ด้านการใช้อุปกรณ์ช่วยในการร่วมเพศ ด้านการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก และด้านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.97, 0.76, 0.72 และ 0.66 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองพบว่า องค์ประกอบพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้ง 3 องค์ประกอบหลักมีความสำคัญในระดับใกล้เคียงกัน โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.89, 0.85 และ 0.81 ตามลำดับ (2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) เท่ากับ 58.47 ที่องศาอิสระ 30 มีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.051 ค่าสถิติไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df ) เท่ากับ 1.94 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (RMR) เท่ากับ 0.04 และค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.04 แสดงว่าโมเดลองค์ประกอบพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี