• สุวิชชา ศรีถาน
    : อาจารย์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เอมอร ดิสปัญญา
    : รองศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The study aims 1) to examine factors which are related to the readiness of Thai university students in becoming part of the ASEAN Economic Community (AEC) and 2) to compare the importance and readiness of the factors related to the professional preparation of the two groups of students. It is a comparative study of 450 students from each university, selected by convenience sampling for data collection. The researchers used a survey questionnaire to collect data. Preliminary statistics (percentage, means, and standard deviations), paired samples t-test, independent t-test, techniques were used to test the gaps between the two universities and statistical significances across the determining and determined variables. The findings are as follows. Firstly, both Ramkhamhaeng and Mahasarakham University students rated every factor relating to the readiness and preparation of university students in becoming part of the ASEAN Community very high. The students in both universities believe that their universities are well-prepared in every feature of becoming part of the AC. Next, the four main factors that relate to the readiness of university students to join the AC (professional competency, English communication, curriculum and instruction-variance, and professional program quality and effectiveness) were found to be important. Finally, all four of the above factors involving the students’ readiness were found to be statistically significant at the statistical level of .05 (p≤.0001).


Keyword

ASEAN Community, importance,Mahasarakham University,Ramkhamhaeng University,readiness, Thai university students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยในการเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญและความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยมหาสารคามแห่งละ 450 คน จากการสุ่มตัวอย่างตามสะดวกโดยใช้แบบสอบถามทดสอบการประเมินค่าระดับเกี่ยวกับความสำคัญและความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิเคราะห์สถิติแบบพื้นฐานด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ paired samples t-test และ independent t-test เพื่อเปรียบเทียบผลวิจัยของทั้งสองมหาวิทยาลัย และผลการวิจัยพบว่านักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญของปัจจัยการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในทุกปัจจัยรายข้อและโดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และในทุกรายข้อและโดยรวมอยู่ในระดับความพร้อมมาก ส่วนองค์ประกอบของปัจจัยการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักร่วมระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย โดย 4 องค์ประกอบร่วมในการที่สำคัญสำหรับการใช้เตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัย คือ องค์ประกอบด้านความสามารถในอาชีพ องค์ประกอบด้านการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ องค์ประกอบด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และองค์ประกอบด้านคุณภาพและประสิทธิภาพของสาขาวิชาชีพ ทั้ง 4 องค์ประกอบหลักของปัจจัยการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสองมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.0001)


คำสำคัญ

ความสำคัญ การเตรียมความพร้อม ประชาคมอาเซียน นักศึกษามหาวิทยาลัยไทย มหาวิทยาลัย-รามคำแหง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม