• พรสิน สุภวาลย์
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พรเลิศ อาภาณุทัต
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุบัน บัวขาว
    : สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อัฏฐมา นิลนพคุณ
    : อาจารย์ ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this research were to study competency of executives of small and medium-sized hotels in the Bangkok area, to study and classify characteristics of the hotels by competency levels of the executives, and to analyze how the executives’ competency affects the performance of the hotels. The population was 1,383 small and medium-sized hotels in Bangkok registered with the Ministry of Commerce. The sample group, selected through stratification, was 174 hotels. The data were collected by using questionnaires and interviews. The researcher used frequency, percentage, mean, and standard deviation to analyze the data; in addition, content analysis was performed. To classify variables, the researcher employed factor analysis, principal component analysis (PCA), cluster analysis, and K-means, as well as stepwise multiple regression analysis. The research found that, firstly, there are seven competencies of the executives of small and medium-sized hotels in Bangkok. Five of those competencies were ranked at a high level: relationship competency, hotel service development and customer retaining competency, financial managing competency, service industry knowledge and operational safety competency, and self-management competency, respectively. The other two competencies were ranked at a somewhat high level; leadership competency, and human resource management competency. Next, from the sample group of the 117 hotels have executives with high competency, whereas the executives of the other 57 hotels were classified at a medium competency level. Finally, the stepwise multiple regression analysis showed that three competencies affected hotel business performance: service development and customer retaining competency, service industry knowledge and operational safety competency, and human resource management competency. The three competencies cooperatively predicted the variability of the business performance as a whole by 67 percent (R2 = 0.670, F = 115.308, p = 0.05).


Keyword

competency of executives, business performance, small and medium-sized hotels

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาและจัดกลุ่มลักษณะของโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครจำแนกตามระดับสมรรถนะของผู้บริหาร และเพื่อวิเคราะห์สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร ประชากร คือโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร ที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์จำนวน 1,383 แห่ง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่างโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 174 แห่งโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเพื่อการจำแนกกลุ่มตัวแปรโดยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบ (Principal Component Analysis : PCA) การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม (Cluster Analysis) โดยจำแนกกลุ่มด้วยวิธี K-Means และวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบเป็นขั้น (stepwise) ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครมี 7 สมรรถนะ โดยมีระดับสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะ พบว่าอยู่ในระดับมาก 5 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะด้านความสัมพันธ์ในการทำงาน รองลงมาคือ สมรรถนะด้านการพัฒนาการบริการและรักษาลูกค้าของโรงแรม สมรรถนะด้านการบริหารการเงิน สมรรถนะด้านความรู้ในอุตสาหกรรมบริการและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะด้านการจัดการตนเอง และอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 2 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะด้านความเป็นผู้นำ และสมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) จัดกลุ่มโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครตามระดับสมรรถนะของผู้บริหาร ได้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผู้บริหารมีระดับสมรรถนะสูง จำนวน 117 แห่ง และกลุ่มโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผู้บริหารมีระดับสมรรถนะปานกลาง จำนวน 57 แห่ง 3) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้น พบว่าสมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครภาพรวม มี 3 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะด้านการพัฒนาการบริการและรักษาลูกค้าของโรงแรม สมรรถนะด้านความรู้ในอุตสาหกรรมบริการและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยทั้ง 3 สมรรถนะร่วมกันทำนายความแปรปรวนของผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครภาพรวมได้ร้อยละ 67 (R2 = 0.670, F = 115.308, p = 0.05)


คำสำคัญ

สมรรถนะผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน โรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม