• จิตรภานุ อินทวงศ์
    : เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จิระวุฒ นาเค
    : เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พรชัย วงศ์วาสนา
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มณี อัชวรานนท์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ยิ่งยง เมฆลอย
    : อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
FULL TEXT

Abstract

The objective of this research was to follow the variations of the antler cycle and reproductive behavior of captive Rusa and Sika deer in Ramkhamhaeng University Deer Farm from 2012-2017 compared with these incidences which were recorded from 2006-2011. The study showed that the increase of the ambient temperature at Ramkhamhaeng University Deer Farm during 2012-2017 had the major effect on the variations of the antler cycle and reproductive behavior of Rusa deer more than Sika deer. The consequences of the variations of antler cycle changed the mating behavior of Rusa deer from February to July to all year round except January and changed the parturition period from September to February to all year round except August. However, the increase of the ambient temperature has a little effect on Sika deer. The antler cycle development and reproductive behavior of Sika deer during 2012-2017 still the same period as in 2006-2011 but  1-2 months longer than the data recorded in 2006-2011. The results from this study showed that the increase of the ambient temperature at Ramkhamhaeng University Deer Farm had an effect on the tropical deer as Rusa deer more than the temperate deer as Sika deer.


Keyword

antler, reproductive behavior, Rusa deer, Sika deer

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อติดตามการเจริญของวงรอบของเขากวางรูซ่าและเขากวางซิก้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยงที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่เขาหลุด เขาอ่อนงอก เขาอ่อนกลายเป็นเขาแข็ง และกลับมาเขาหลุดเขาอ่อนงอก เขาแข็ง หมุนเวียนในแต่ละรอบเป็นระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2555-2560 และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของกวางทั้งสองชนิดนี้เปรียบเทียบกับการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2549-2554 ว่ามีการผันแปรไปจากเดิมหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิของอากาศในช่วงระยะเวลา 6 ปีหลังคือ พ.ศ. 2555-2560 ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อ พ.ศ. 2549-2554 ทำให้เกิดการผันแปรของการเจริญของวงรอบของเขาdวางรูซ่ามากกว่าของเขากวางซิก้า และมีผลต่อพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของกวางรูซ่าอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าของกวางซิก้า การผันแปรของการเจริญของวงรอบของเขากวางรูซ่าเพศผู้ทำให้มีการผสมพันธุ์กับกวางรูซ่าเพศเมีย จากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมเป็นตลอดทั้งปี ยกเว้นเดือนมกราคม และมีลูกกวางรูซ่าคลอด จากเดิมในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์เป็นทุกเดือน ยกเว้นเดือนสิงหาคม ขณะที่อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญของวงรอบของเขากวางซิก้าบ้าง แต่ไม่มากเท่าในกวางรูซ่า ช่วงเขาหลุด เขาอ่อน เขาแข็งในกวางซิก้า ยังคงอยู่ระหว่างช่วงเดียวกันในการศึกษาทั้ง 2 ช่วง แต่ยาวนานขึ้น 1-2 เดือน ในการศึกษาในช่วง 6 ปีหลังนี้พบว่าช่วงระยะเวลาของการผสมพันธุ์และการคลอดลูกนานกว่าเดิมประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิของภูมิอากาศมีผลต่อการผันแปรของการเจริญของวงรอบของเขากวางรูซ่าซึ่งเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นมากกว่าของกวางซิก้าซึ่งเป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่น


คำสำคัญ

เขากวาง พฤติกรรมการสืบพันธุ์ กวางรูซ่า กวางซิก้า