• จิตรภานุ อินทวงศ์
    : เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จิระวุฒ นาเค
    : เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พรชัย วงศ์วาสนา
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มณี อัชวรานนท์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The study on the survival of newborn fawn in Ramkhamhaeng University Deer Farm during 2012 – 2017 came across that both Rusa and Sika fawn survived 75 % of total newborn fawn. The highest mortality occurred when fawn were less than seven days old. The most cause of mortality among them was unhealthy (50 % of Rusa and 40 % of Sika fawn) and the second most cause was being attacked by the others (25 % of Rusa and 50 % of Sika fawn) and being refused nursing from mothers. The farm management of Ramkhamhaeng University Deer Farm was suitable in population density and both quality and quantity of food supplies. The factor which affected the most survival of newborn fawn in Ramkhamhaeng University Deer Farm was the age of mothers. The two-year old mothers which were first-pregnant and never gave birth before, lost their offspring more than the three-year old mothers which have had offspring before. The length of pregnancy in deer is 8 months, therefore, the two-year old mothers or less which gave birth for the first time were mated when they were only 1 year old. It is possible that the reproductive physiology of these two-year old mothers are not ready yet or not in full development as the three-year old mothers. Moreover, the most significant behavior of most two-year old mothers were that they denied nursing their offspring and did not showed protective behavior. Therefore, their offspring were attacked from the others including being taken milk from the older fawn. The physiology and behavior of young mothers affected the survival of their offspring most.


Keyword

deer farm management, Rusa deer, Sika deer, survival of offspring

บทคัดย่อ

การศึกษาการรอดชีวิตของลูกกวางรูซ่าและลูกกวางซิก้าหลังคลอดระหว่าง พ.ศ. 2555 - 2560 ในฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง สรุปว่า ทั้งลูกกวางรูซ่าและลูกกวางซิก้ารอดชีวิตหลังคลอดโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 75 ของลูกกวางที่คลอดทั้งหมด โดยช่วงอายุของทั้งลูกกวางรูซ่าและลูกกวางซิก้าเสียชีวิตหลังคลอดมากที่สุดคือ ช่วงลูกกวาง  มีอายุน้อยกว่า 7 วัน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยประมาณเกือบร้อยละ 50 ของลูกกวางรูซ่า และร้อยละ 40 ของลูกกวางซิก้าหลังคลอด คือ สุขภาพไม่สมบูรณ์ รองลงมาของสาเหตุการเสียชีวิตร้อยละ 25 ของลูกกวางรูซ่า และเกือบร้อยละ 50 ของลูกกวางซิก้า คือ โดนทำร้ายจากกวางตัวอื่น รวมถึงแม่กวางเดินหนี ไม่ให้ลูกกินนม และโดน     ลูกกวางตัวอื่นที่โตกว่าแย่งกินนม เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลที่ศึกษาการบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงกวางของฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงพบว่า เหมาะสมทั้งในด้านคอกเลี้ยงและการให้อาหาร ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดต่อการรอดชีวิต   ของทั้งลูกกวางรูซ่าและลูกกวางซิก้าหลังคลอด คือ อายุของทั้งแม่กวางรูซ่าและแม่กวางซิก้า ลูกกวางที่มีแม่กวางอายุน้อยกว่า 2 ปี ในขณะตั้งครรภ์และคลอดลูกเป็นครั้งแรก รอดชีวิตน้อยกว่าลูกกวางจากแม่กวางที่มีอายุ 3 ปีซึ่งเคยตั้งครรภ์และคลอดลูกมาก่อน เนื่องจากกวางตั้งครรภ์ 8 เดือน แม่กวางที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ในขณะตั้งครรภ์ และ   คลอดลูก เป็นกวางสาวที่รับการผสมพันธุ์ตั้งแต่อายุ 1 ปี การพัฒนาการของสรีรวิทยาของร่างกายแม่กวางยังไม่พร้อมในการสืบพันธุ์ ทำให้ลูกกวางสุขภาพไม่แข็งแรงสมบูรณ์ และสำคัญที่สุด คือ แม่กวางอายุน้อยและไม่เคยมีลูกมาก่อน ส่วนใหญ่ปฏิเสธการเลี้ยงลูก ไม่ให้ลูกกินนม และไม่มีพฤติกรรมปกป้องลูกกวาง ทำให้ลูกกวางโดนทำร้ายและถูกแย่งกินนม ซึ่งพฤติกรรมการไม่เลี้ยงลูก และไม่ดูแลปกป้องลูกกวางของแม่กวางสาวที่ไม่เคยมีลูกมาก่อนเป็นพฤติกรรม    ที่พบเห็นโดยทั่วไป ทำให้การรอดชีวิตของลูกกวางลดลง


คำสำคัญ

การบริหารจัดการฟาร์มกวาง กวางรูซ่า กวางซิก้า การรอดชีวิตของลูกกวาง