• อาหาหมัด มะดีเย๊าะ
    : หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

The aims of this study were to understand the situations, factors influencing people’s participation and patterns of the motivation of used packaging management in Pattani Municipality which increased and no effective ways to manage. The data were collected as questionnaires from 357 samples, The study comprised of three sub-districts, which were systematically chosen from two communities in each sub-district. The study employed both descriptive and inferential statistics in analysis, using Statistical Package for the Social Sciences. The survey results showed that Pattani Municipality has obtained limited financial support for packaging waste management activities. However, the unrest in southern part of Thailand has delayed
the activities. Factors that influenced packaging waste management most was waste disposal facilities
( = 2.49), the second most was behaviors ( = 2.46), and the last was understandings of packaging waste management ( = 2.43).  The process of packaging waste management should start from related municipal agencies and expand to local communities, mosques, and schools. The motivation of people’s participation at the household level is necessary including exchanging ideas for effective packaging waste management


Keyword

environment, packaging waste management, participation, solid waste

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขยะ
บรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีการจัดการปัญหาขยะที่มีประสิทธิภาพในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของประชาชน และรูปแบบการส่งเสริมการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนประกอบด้วย 3 ตำบล ตำบลละ 2 ชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนของแต่ละชุมชน รวม 357 คน โดยการสุ่มเชิงระบบและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้านสังคมศาสตร์ เพื่อประมวลค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าต่ำสุด สูงสุด และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์แนวทางการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลเมืองปัตตานีได้งบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ และได้ดำเนินโครงการตามวงเงินที่ได้รับ แต่เนื่องด้วยความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลทำให้การดำเนินการล่าช้า และต้องคอยปรับปรุงระบบกำจัดขยะเป็นระยะ ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ประเด็นการอำนวยความสะดวกในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ (x = 2.49) รองลงมา ประเด็นพฤติกรรมในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ (x = 2.46) และน้อยที่สุด ประเด็นด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ (x = 2.43) แนวทางในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยจะเริ่มดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระจายองค์ความรู้สู่ชุมชน มัสยิด โรงเรียน เพื่อให้เกิดจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี จุดอ่อนที่ต้องได้รับการพัฒนาและให้ความสำคัญมากที่สุด คือ กลยุทธ์การสร้างความพร้อมของประชาชนด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในระดับครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมทำกิจกรรม และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อการพัฒนาให้เกิดสิ่งที่นำไปสู่การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิผลมากขึ้น


คำสำคัญ

สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ การมีส่วนร่วม ขยะมูลฝอย