• วัสสิกา รุมาคม
    : อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
FULL TEXT

Abstract

         The purposes of this research were 1) to study Thai language learning strategies and attitudes towards Thai language 2) to study the relationship between personal factors and Thai language learning strategies and 3) to study the relationship between personal factors and attitudes towards Thai language of the Thai Muslim bachelor’s degree students in Pathumthani province. The sample consisted of 115 Thai Muslim bachelor’s degree students in Pathumthani province. The tool used in this research was the questionnaire which had IOC between 0.67-1.00 and Coefficient Alpha was 0.93. Statistical analysis methods used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent sample and F-test (One-way ANOVA). The results have shown as followed: 1) direct and indirect strategies were used at the high level and these students had good attitudes towards Thai language at a high level. 2) Among different main language usages students, different majors in bachelor’s degree and different academic program in high school had differences in Thai language learning strategies. In contrast, different sexes and these students’ GPA of Thai language subjects in high school had no differences in Thai language learning strategies. 3) For different sexes and different majors in bachelor’s degree had differences in attitudes towards Thai language. In contrast, students who had different main language usage, different academic programs and different GPA of Thai language subjects in high school had no differences in attitudes towards Thai language.


Keyword

attitudes, bachelor’s degree, learning strategies, Thai language, Thai Muslim

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนภาษาไทยและทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับกลวิธีการเรียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานี  กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ alpha = 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test independent sample ค่า F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานีใช้กลวิธีการเรียนโดยตรงและกลวิธีการเรียนโดยอ้อมในระดับมากและมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทยในระดับมาก  2) นักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานีที่ใช้ภาษาหลักในการสื่อสารแตกต่างกัน, ศึกษาในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน, ศึกษาในแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่แตกต่างกันมีกลวิธีการเรียนภาษาไทยแตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานีที่เพศแตกต่างกัน, มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมของวิชาภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกันมีกลวิธีการเรียนภาษาไทยไม่แตกต่างกัน 3) นักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานีที่เพศแตกต่างกัน, ศึกษาในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน มีทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยแตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานีที่ใช้ภาษาหลักในการสื่อสารแตกต่างกัน, ศึกษาในแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่แตกต่างกัน, มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมของวิชาภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกันมีทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยไม่แตกต่างกัน  


คำสำคัญ

ทัศนคติ ปริญญาตรี กลวิธีการเรียน ภาษาไทย ชาวไทยมุสลิม