• วราภรณ์ จุลปานนท์
    : รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this research investigation, the researcher examines (1) the status of Asia in the global context; (2) the development of Asia to become an economic center during 2010 and 2050; and (3) the challenges confronting Asia between 2010 and 2050. Findings show that Asia is a booming region as the center of trade, major global investments and new global economic growth. The drivers of change in Asia are the advancement of technology, an expansion of population, available labor forces, and capital accumulation. However, Asia still faces various major challenges i.e. domestic inequality, the middle income trap, the competition for natural resources, local and regional divisiveness and global warming. In addition, Asia is under pressure from the multipolar world. It is the region where superpowers such as China and the United States of America struggle for power and peace. Therefore, Asia can be maintained as an economic center by applying regional economic integration with cooperation between the public and private sectors. The application of the philosophy of the sufficiency economy is a guideline for development and immunization from geopolitical problems in the global political economy forum.


Keyword

ASIA, global political economy

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง เอเชียในเศรษฐกิจการเมืองโลกมีจุดประสงค์สำคัญคือ (1) ศึกษาสถานะของเอเชียในบริบทโลก (2) ศึกษาพัฒนาการสู่การเป็นศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจของเอเชียในช่วง ค.ศ.2010-2050 และ (3) เพื่อศึกษาการ    ท้าทายที่เอเชียต้องเผชิญใน ค.ศ.2010-2050 ผลการศึกษาพบว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่กำลังเจริญรุ่งเรือง เป็นทั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้า การลงทุนที่สำคัญของโลกหรือเป็นศูนย์กลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของโลก ซึ่งพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงเอเชียได้แก่ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการขยายตัวของประชากร แรงงานและการสะสมทุน อย่างไรก็ดี เอเชียยังต้องเผชิญการท้าทายที่สำคัญหลายประการ เช่น ความไม่เสมอภาคภายในประเทศ การคงอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง การแย่งชิงทรัพยากร ความแตกแยกภายในประเทศและภูมิภาค ปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ เอเชียยังอยู่ภายใต้เวทีโลกแบบหลายขั้วอำนาจใหม่และเป็นภูมิภาคที่มหาอำนาจทั้งจีน สหรัฐฯ ต่างเข้ามาแข่งขันอำนาจและสันติภาพ ดังนั้น การที่เอเชียจะรักษาศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจไว้ได้ก็โดยการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาและเป็นภูมิคุ้มกันในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลก


คำสำคัญ

เอเชีย เศรษฐกิจการเมืองโลก