• เปาว์ จำปาเงิน
    : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this study, the researcher explores (1) retail investors in Thailand Futures Exchange (TFEX) in terms of Hemography, financial knowledge, and investment behavior; analyzes (2) factors influencing their decisions to invest in derivatives; and examines (3) the relationship between investors’ behavior and their decisions to invest in derivatives. The sample population consisted of 400 male and female Thai investors using or investing in TFEX regardless of age, education, occupation, and monthly income. The quantitative research approach was employed. A questionnaire was used to collect data on 400 Thai investors who used to or are currently investing in TFEX. Descriptive statistics and inferential statistics were used in data analysis. Findings showed that the relationship between social-demographic factors and past performance exhibited significant differences in the educational level, type of occupation, and level of income. The level of income exhibited significance with the trading volume for consideration of the investment. Financial knowledge in the aspect of the financial products of the investors in the derivatives market was higher than those not investing in the derivatives market. This study also showed that the opinions regarding investment in derivatives in the concept of investments similar to that in underlying products exhibited significant differences between investors in the derivatives market and those not investing in the derivatives market at ten percent. In regard to the behavior of investors, it was found they had an investment experience in the derivatives market for one to two years. The highest proportion of individual investors who invested in the derivatives market would invest in SET 50 Futures. They made the decision to invest in derivatives themselves. Findings also showed the following: (1) Significant differences were found in the losses during 2013 and 2015 between age groups, occupation, and income level. (2) The relationship between social-demographic factors and the information sources that individual investors believed to be the most reliable and influenced their decisions to invest exhibited significant differences among occupation groups and income level in the decisions to invest in derivatives. Risk appetite is important for investors in their decisions to invest in TFEX.


Keyword

derivative, future exchange, investment behavior

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจนักลงทุนรายย่อยในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ในรูปของความสัมพันธ์ทางด้านประชากรศาสตร์, ความรู้ทางการเงิน, พฤติกรรมการลงทุนและ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในตราสารอนุพันธ์และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้ลงทุนกับการตัดสินใจลงทุนในตราสารอนุพันธ์ของนักลงทุนรายย่อยในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักลงทุนไทยทั้งชายและหญิงที่ใช้หรือลงทุนในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (Thailand Future Exchange) โดยไม่จำกัด อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน จำนวน 400 คน ทำการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative  Research)  โดยใช้แบบสอบถาม  Questionnaire) เก็บข้อมูลจากนักลงทุนชาวชาวไทยที่เคยหรือกำลังลงทุนในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติ1 นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง อนุมาน (Inferential Statistics) ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและประชากรกับผลการดำเนินงานในอดีตนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มระดับการศึกษา ประเภทอาชีพและระดับรายได้ และจะมีเพียงระดับรายได้ที่มีนัยสำคัญกับปริมาณการซื้อขายเพื่อพิจารณาการตัดสินใจลงทุนความรู้ทางการเงินในด้านสินค้าทางการเงินของผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ การศึกษาครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนตราสารอนุพันธ์ในแนวคิดของการลงทุนเสมือนการลงทุนในสินค้าอ้างอิงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์และไม่ได้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ซึ่งอยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญถึงร้อยละ 10 พฤติกรรมของนักลงทุนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์เป็นเวลา 1 - 2 ปี และนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ที่ลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์จะลงทุนใน SET50 Future และนักลงทุนส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์จะตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเอง ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า  (i) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในผลขาดทุนที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2556 - 2558 ระหว่างกลุ่มอายุ อาชีพและระดับรายได้ (ii) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและประชากรกับแหล่งข้อมูลที่นักลงทุนรายย่อยเชื่อมากที่สุดเพื่อที่จะใช้ในการตัดสินใจลงทุนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มอาชีพและระดับรายได้ การตัดสินใจลงทุนในตราสารอนุพันธ์ และพบว่า ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้เป็นสิ่งสำคัญของนักลงทุนในการตัดสินใจลงทุนในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า


คำสำคัญ

ตราสารอนุพันธ์ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า พฤติกรรมการลงทุน