• พินิดา จิวะไพศาลพงศ์
    : อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • พิลาส สว่างสุนทรเวศย์
    : อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วลัยนารี พรมลา
    : อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สุกัลยา ศรัทธาธรรมกุล
    : อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
FULL TEXT

Abstract

         In this descriptive research investigation, the researchers study (1) the health needs of the residents; and (2) the relationship between the health behaviors and the health needs of the residents.The sample population consisted of 100 residents in Ban Mai subdistrict participating in academic service activities using the method of a simple random sampling by drawing lots without replacement. The research instruments consisted of a demographic data record form, a 20-item health behavior evaluation form, and a 20-item health needs evaluation form with the content validity of .76 and .88 and coefficients of .78 and .75, respectively.  Findings are as follows: 1. The highest proportion at 45 percent of the residents exhibited health behaviors at a high level (M = 3.36, S.D. = .49). 2. The health needs overall were at the highest level of 70 percent (M = 4.63, S.D. = .43). 3. The health behaviors negatively correlated with the health needs of the residents at the statistically significant level of .05 (r = .502). Therefore, health personnel must promote the health behaviors of the residents in a systematic manner. In addition, attention must be paid to their health needs in order to provide guidelines for preventing health problems in an efficient manner.


Keyword

Needs, Health, and Behavior

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษา 1. ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน และ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนตำบลบ้านใหม่ที่มาร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ จำนวน 100 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความต้องการด้านสุขภาพ จำนวน 20 ข้อ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีค่าเท่ากับ .76 และ .88 ตามลำดับ และตรวจสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 และ .75 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 45 มีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.36, S.D. = .49) 2. ความต้องการด้านสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 70 (Mean = 4.63, S.D. = .43) 3. พฤติกรรมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .05 (r = -.502) ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพต้องมีการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญกับความต้องการด้านสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


คำสำคัญ

ความต้องการ สุขภาพ และพฤติกรรม