• นันทวรรณ นวลักษณ์
    : นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รุ่งนภา อินภูวา
    : นักวิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

        The objective of the research was to study the public participation in the conservation of cultural tourism destinations of Nakhon Phanom Province. The purposive samples of this research were: 400 members of tourism destinations of Mueang Nakhon Phanom, That Phanom, Renu Nakhon, Tha Uthen and Na Wa districts; 79 entrepreneurs, 25 government officials including village chief, village management committee, members of sub-district administration organizations and heads of sub-district. The data were obtained from two questionnaires and in-depth interviews and analyzed by employing

frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation. The findings are as follows:

The public participate in the conservation of cultural tourism destinations overall at the moderate level. When considered in each aspect, it was found that they participate in practice, maintenance, planning and decision of the conservation at moderate level. They participate in earning the benefit at high level.

            The entrepreneurs participate in concerning the cultural tourism destinations overall at moderate

level. When considered in each aspect, it was found that they participate in maintenance, planning and decision of the conservation of cultural tourism destinations at moderate level. They participate in practice and earning the benefit at high level. The government officials including village chief, village management committee, members of sub-district administration organizations and heads of sub-district participate in the conservation of cultural tourism destinations as the followings: 

1. Management, the officials participate in meeting to plan and provide the workshop to public of the conservation of cultural tourism destinations, the management of local, souvenir, OTOP product shops, and security of tourist sites. 

2. Planning, the officials participate in planning the conservation of tourism sites, public relation, organization of local shops and annual festivity.

3. Practice, the officials participate in wearing traditional dresses, participation of the local activities such as traditional plays, dances, and music.

4. Maintenance and improvement, the officials participate in providing budget to maintain tourist sites, hiding tourism staff and training them about tourism management.

5. Transportation, the officials advise tourists of transportation, guide tour routes and provide cars, buses and others to the tourists.

6. Promotion of local economic, the officials provide the OTOP product shops to displays local products, organize the shop regulations and control the price of local products


Keyword

PARTICIPATE, CONSERVATION, CULTLURAL TOURISM, NAKHOM PHANOM PROVINCE

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทระดับบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ ประชาชนจังหวัดนครพนมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอท่าอุเทน และอำเภอนาหว้า โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน แยกเป็น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน จำนวน 296 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 79 คน  เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน  และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 25 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีจำนวน 3 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลประชาชน ชุดที่ 2 แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลผู้ประกอบการ ชุดที่ 3 แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลประชาชนและผู้ประกอบการด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์โดยการสังเคราะห์และสรุปผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้

            กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน พบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยภาพรวมอยู่ระดับ “ปานกลาง” เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์อยู่ในระดับ “มาก” ด้านการปฏิบัติ ด้านการทำนุบำรุงรักษา ด้านการวางแผนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับ “ปานกลาง”

            กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการ พบว่าบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยภาพรวมของผู้ประกอบการอยู่ระดับ “ปานกลาง” เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ และด้านการร่วมกันปฏิบัติอยู่ในระดับ “มาก” สำหรับด้านการทำนุบำรุงรักษา ด้านการวางแผนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับ “ปานกลาง”

            กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน และพบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม แยกเป็นประเด็นๆ ดังนี้

1.ด้านการบริหารจัดการ พบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมด้านการบริหารจัดการโดยภาพรวม คือการเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีส่วนร่วมในการจัดอบรมให้ความรู้กับชุมชนด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ มีส่วนร่วมการบริหารจัดการร้านค้าจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของที่ระลึก สินค้า OTOP มีการบริหารจัดการจัดเวรยามรักษาความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อยบริเวณแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

2.ด้านการวางแผน  พบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมด้านการวางแผนโดยการร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวกับชุมชน วางแผนพัฒนาประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วางแผนการจัดระเบียบร้านค้าชุมชน มีส่วนร่วมวางแผนการจัดงานประจำปี เช่น ประเพณีไหลเรือไฟ  งานนมัสการองค์พระธาตุพนม เป็นต้น

3.ด้านการดำเนินงานและการปฏิบัติ พบว่า มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เช่น มีการแต่งกายชุดพื้นเมืองเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ การละเล่นพื้นเมือง การฟ้อนรำ เล่นดนตรี

4.ด้านการบำรุงรักษาและปรับปรุงแก้ไข พบว่า มีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบำรุงรักษาสถานท่องเที่ยว มีการจัดหาจัดจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลรักษาสถานที่ท่องเที่ยว มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยว มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาความสะอาดบริเวณหน้าวัด และจัดระเบียบร้านค้าต่างๆ ให้อยู่ในบริเวณเดียวกันอย่างเป็นระเบียบสวยงาม

5.ด้านการคมนาคม  มีส่วนร่วมในการแนะนำการคมนาคมที่สะดวกสบายปลอดภัยกับนักท่องเที่ยว มีการจัดมัคคุเทศก์ให้คำแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยว มีส่วนร่วมในการจัดรถรับส่ง รถรับจ้าง ไปยังสถานที่ท่องเที่ยว

6.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนของแหล่งท่องเที่ยว เช่น มีร้านขายสินค้า OTOP มีการจัดแสดงสินค้า มีส่วนร่วมในการจัดระเบียบร้านค้า มีส่วนร่วมในการควบคุมราคาสินค้าเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อถือ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิตสินค้าพื้นเมืองจัดจำหน่าย สร้างรายได้ในครัวเรือน


คำสำคัญ

การมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ท่องเที่ยววัฒนธรรม จังหวัดนครพนม