• ยิ่งยง เมฆลอย
    : นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

        The study on productivity and nutritive values of 3 varieties of sweet sorghum (Sorghum bicolor (Linn) Moench) (Wray, Cowley and Keller) compared with maize variety Nakhon Sawan 3 were cut at age 60, 75 and 90 days. The results showed that the total dry matter yields of the sweet sorghum and maize,  significantly increased with an increase cutting age. Wray variety had the highest dry matter which average of  60, 75 and 90 days were 114.48, 134.91 and 202.10 gram per plant Respectively,  followed by Keller sweet sorghum, Nakhon Sawan 3 and Cowley sweet sorghum. However, the average dry matter of Nakhon Sawan 3 variety were not significantly. different from Cowley sweet sorghum variety. It was found that Wray had the highest protein content (13.24 %) when harvested at the age of 60 days. The protein content decreased significantly when cutting age increased with the average of highest crude fiber content 25.05 %. The crude fiber content as well as the NDF and ADF values of sweet sorghum and maize increased as plants grew older. Wray sweet sorghum variety at the cutting age of 60 days is therefore the most suitable in terms of yield and nutritional quality.


Keyword

nutritive values, productivity, sweet sorghum

บทคัดย่อ

        การศึกษาผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของข้าวฟ่างหวาน (Sorghum bicolor (Linn) Moench) 3 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray Cowley และ Keller โดยเปรียบเทียบกับข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่อายุการตัด 60 75 และ 90 วัน ผลจากการทดลองพบว่า การเพิ่มอายุการตัดข้าวฟ่างหวานและข้าวโพด ผลผลิตน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray มีน้ำหนักแห้งสูงที่สุด โดยมีน้ำหนักแห้งเฉลี่ยที่อายุ 60 75 และ 90 วัน เท่ากับ 114.48 134.91 และ 202.10 กรัมต่อต้น ตามลำดับ รองลงมาคือ ข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Keller  ข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 3 และข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Cowley ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม น้ำหนักต้นเฉลี่ยของข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 3 กับข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Cowley ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านองค์ประกอบทางเคมีพบว่าข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray มีปริมาณโปรตีนมากที่สุด  โดยปริมาณโปรตีนสูงสุดเฉลี่ย 13.24 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุ 60 วันโดยปริมาณโปรตีนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่ออายุการตัดเพิ่มขึ้น และปริมาณเยื่อใยรวมสูงที่สุดเฉลี่ย 25.05 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ปริมาณเยื่อใยรวม ตลอดจนค่า NDF และ ADF ของข้าวฟ่างหวานและข้าวโพดจะสูงขึ้น
เมื่ออายุของพืชมากขึ้น ข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray ที่อายุการตัด 60 วัน จึงมีความเหมาะสมที่สุดทั้งในด้านปริมาณผลผลิตและคุณภาพทางโภชนาการ

 

 


คำสำคัญ

คุณค่าทางโภชนาการ ผลผลิต ข้าวฟ่างหวาน