• ณรงค์ฤทธิ์ ติ๊บคำป้อ
    : สาขาวิชาเคมี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สมฤทัย ตันมา
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเคมี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
FULL TEXT

Abstract

Plants in the cucurbitaceae family have been widely cultivated in Thailand i.e. cucumber, watermelon, melon, cantaloupe, pumpkin and bitter gourd. The major problem in cucurbitaceae cultivation is the plant pathology outbreaks which cause substantial economic damage. The cucurbitaceae epidemic plant disease is caused by three types of pathogens: Watermelon mosaic virus-2 (WMV-2), Potyvirus and Acidovarax avenae subsp. citrulli (Aac). Chemicals therefore are wildly used in the cultivation of these plants. In this research investigation, the researchers studied the use of crude extracts from herbs and chitosan to inhibit plant pathogens in cucumbers. Cucurbits-3 in 1 easy kit (NSTDA) was used to detect the inhibitory

effect on the cucumber leaves obtained from the experimental planting plot which had been sprayed with biological substances for thirty days. The result showed that the mixture of chitosan and Siam weed (Chromolaena odorata) extracts was efficient in inhibiting all three types of pathogens and the cucumber leaves did not show signs of infection. The mixture of chitosan and neem leaf (Azadirachta indica) extract and the mixture of chitosan and guava leaf extracts showed a positive effect on Potyvirus and the plant leaves showed signs of infection with yellow-brown spots on the leaves.             Cucumber leaves sprayed with chiosan only were found to exhibit negative effects on all three types of pathogens. Plant leaves were damaged by insect bites. The study of the chemical components of the chitosan solution and Siam weed extracts using the GC-MS technique found that the major substances were Acetic acid, Ethanol, Propanol,
2-methyl, Acetone and Butanal, and 3-methyl. The basic study found that the components of chitosan solutions and Siam weed extracts exhibited efficiency in inhibiting the three types of pathogens in cucumbers and could prevent insect pests when compared with the use of chitosan only.


Keyword

chitosan, cucumber, Potyvirus, Siam weed

บทคัดย่อ

พืชวงศ์แตงเป็นพืชที่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระ
เป็นต้น ปัญหาสำคัญของการปลูกพืชวงศ์แตงคือ การเกิดโรคระบาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งโรคระบาดในพืชวงศ์แตงเกิดจากสาเหตุหลักคือเชื้อก่อโรค 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อ Watermelon mosaic virus-2
(WMV-2), เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ทำให้มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกพืชเหล่านี้อย่างแพร่หลาย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาการใช้สารสกักจากพืชสมุนไพรและไคโตซานเพื่อยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชในแตงกวา ผลการตรวจด้วยชุดตรวจ Cucurbits-3 in 1 Easy kit (สวทช.)
 กับใบแตงกวาที่ได้จากแปลงทดลองที่มีการใช้สารชีวภาพฉีดพ่นเป็นเวลา 30 วัน พบว่าสารผสมสารละลายไคโตซานและสารสกัดใบสาบเสือ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรคทั้ง 3 ชนิดได้ และ ใบพืชไม่แสดงอาการติดโรค ในขณะที่สารผสมสารละลายไคโตซานและสารสกัดใบสะเดา และสารผสมสารละลายไคโตซานและสารสกัดใบฝรั่งให้ผลบวกต่อเชื้อ Potyvirus และใบพืชแสดงอาการติดโรคโดยมีจุดสีเหลืองน้ำตาลบนใบพืช สำหรับใบแตงกวาที่ใช้สารละลาย
ไคโตซานฉีดพ่นเพียงอย่างเดียว พบว่าใบพืชให้ผลลบต่อการติดเชื้อทั้ง 3 ชนิด แต่ใบพืชได้รับความเสียหายจากการโดนแมลงกัดกิน จากนั้นศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารผสมสารละลายไคโตซานและสารสกัดใบสาบเสือด้วยเทคนิค GC-MS พบว่าประกอบด้วยสารที่สำคัญคือ Acetic acid, Ethanol, Propanol, 2-methyl, Acetone และ Butanal, 3-methyl ตามลำดับ จากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าของผสมสารละลาย ไคโตซานและสารสกัดใบสาบเสือ
มีประสิทธิภาพยับยั้งการเกิดเชื้อก่อโรค 3 ชนิดในแตงกวาได้ อีกทั้งป้องกันแมลงศัตรูพืชมากัดกินในพืช
ได้เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายไคโตซานเพียงอย่างเดียว

 

 

 


คำสำคัญ

ไคโตซาน แตงกวา โพทีไวรัส สาบเสือ