• Panisara Thongthep
    : Student at Department of Microbiology, Faculty of Science, Burapha University
  • Patcharanan Amornrattanapan
    : Lecturer at Department of Microbiology Faculty of Science Burapha University
FULL TEXT

Abstract

            Oleaginous yeasts are potential lipid producers that could be used for biodiesel production. In this present study, leaf and soil samples from a mangrove forest in Chonburi Province were collected and used for the isolation of yeasts in YEPG broth containing 2% glycerol as a carbon source in shaking flasks. The total of 26 isolates of yeast were obtained and they were further investigated for their ability to accumulate lipid by Sudan Black B staining. The result showed that 7 out of 26 yeast isolates; 1A 2C 3E 5B 6A 8A and 9A had intracellular lipid droplets. All of these isolates were estimated for their approximate amount of lipid accumulation by Nile Red fluorescence assay and only one isolate namely 1A that was isolated from leaves of Avicennia officinalis expressed the strongest potential for high level of lipid accumulation. After kinetic studies of biomass and lipid production of isolate 1A at 240 hours of growth in GMY broth, 24.24 ± 0.06 g/L of biomass yield, 3.63 ± 0.04 g/L of lipid yield, and lipid content of 14.98% of dry biomass were significantly achieved (p < 0.05). Strategies for improvement on lipid production from this isolate is needed to be further investigated prior to its utilization in the future.


Keyword

glycerol, microbial lipid, oleaginous yeast

บทคัดย่อ

      ยีสต์สะสมไขมันสูงเป็นผู้ผลิตไขมันที่มีศักยภาพสำหรับนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตไบโอดีเซล การศึกษาครั้งนี้จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างจากใบไม้และดินจากบริเวณป่าชายเลน จังหวัดชลบุรี แล้วนำมาคัดแยกยีสต์โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ YEPG broth ที่มีกลีเซอรอล 2 เปอร์เซ็นต์เป็นแหล่งคาร์บอนในขวดรูปชมพู่ภายใต้สภาวะแบบเขย่า พบว่าสามารถคัดแยกยีสต์ได้ทั้งหมด 26 ไอโซเลท จากนั้นนำยีสต์ที่คัดแยกได้มาวิเคราะห์ความสามารถในการสะสมไขมันโดยการย้อมด้วยสี Sudan Black B พบว่าจากยีสต์ทั้งหมด 26 ไอโซเลทที่คัดแยกได้ มียีสต์ 7 ไอโซเลท ได้แก่ 1A 2C 3E 5B 6A 8A และ 9A ที่มีถุงสะสมไขมันภายในเซลล์ จึงนำยีสต์ทั้ง 7 ไอโซเลทมาประเมินปริมาณไขมันภายในเซลล์ด้วยวิธี Nile Red fluorescence assay พบว่ายีสต์ไอโซเลท 1A ที่คัดแยกได้จากใบของต้นแสมดำแสดงศักยภาพในการสะสมไขมันสูงที่สุด เมื่อนำไอโซเลท 1A ไปศึกษาจลศาสตร์ของการผลิตชีวมวลและไขมัน พบว่าที่เวลา 240 ชั่วโมงของการเพาะเลี้ยงในอาหาร GMY broth ไอโซเลท 1A ผลิตชีวมวลได้ 24.24 ± 0.06 กรัมต่อลิตร สะสมไขมันได้ 3.63 ± 0.04 กรัมต่อลิตร คิดเป็นปริมาณไขมันสูงสุด 14.98 เปอร์เซ็นต์ของชีวมวลแห้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อย่างไรก็ตาม ควรที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงการผลิตไขมันของยีสต์ไอโซเลท 1A ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

 


คำสำคัญ

กลีเซอรอล ลิพิดจากจุลินทรีย์ ยีสต์สะสมไขมันสูง