• Chutima Sriviboon
    : รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • Duangkamon Sangiamdee
    : อาจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • Kansri Boonpragob
    : รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • Prichukorn Khongsatra
    : นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • Soontaree Tansuwan
    : รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

          In this research investigation, the researchers study the correlation of lecanoric acid and atromarin using Pearson’s correlation. The collection of more than twenty-five lichen samples was conducted at different times with different environments at Khao Yai National Park. The technique of high performance liquid chromatography was used to analyze lichen substances. The hypersil C18 column (250 x 4.0 mm, 5μm) under gradient elution and UV detection at λ 254 nm was employed. The two mobile phases used were methanol as solvent B and buffer solution of 1 percent phosphoric acid as solvent A. The program of gradient elution started with 30 percent B at the flow rate of 0.7 milliliter per minute. Then, solvent B was increased at 70 percent within fourteen minutes and at 100 percent within thirty minutes. The analysis showed that lecanoric acid and atranorin did not exhibit correlation. It was also found that the average amount of lecanoric acid and atranorin in the rainy season was higher than in the dry season.


Keyword

atranorin, HPLC, lecanoric acid, secondary metabolites

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาสหสัมพันธ์ของกรดลีคานอริกและอะทาโนรินโดยใช้วิธีการคำนวณสหสัมพันธ์   เพียร์สัน  ทำการเก็บตัวอย่างไลเคนมากกว่า 25 ตัวอย่างในกรณีต่างเวลาซึ่งมีผลให้สภาพแวดล้อมต่างกันจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่   ใช้วิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงวิเคราะห์สารไลเคน  คอลัมน์ที่ใช้คือไฮเปอร์ซิล C18 ขนาด 250 x 4.0 mm, 5 µm ทำการชะด้วยระบบแกรเดียนท์ ตรวจวัดด้วยเครื่อง ยูวี ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร เฟสเคลื่อนที่ 2 ชนิดที่ใช้คือเมทานอลเป็นตัวทำละลาย B และสารละลายบัฟเฟอร์ของ 1% กรดฟอสฟอริก
เป็นตัวทำละลาย A โปรแกรมการชะของระบบแกรเดียนท์คือเริ่มต้นด้วย 30% B ที่อัตราการไหล 0.7 มิลลิลิตรต่อนาที จากนั้นเพิ่มตัวทำละลาย B เป็น 70% ภายในเวลา 14 นาที แล้วเพิ่มเป็น 100 % ภายในเวลา 30 นาที ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คือ กรดลีคานอริกและอะทาโนรินไม่มีความสัมพันธ์กันและพบว่าปริมาณเฉลี่ยของกรดลีคานอริกและอะทาโนรินในช่วงฤดูฝนมีปริมาณมากกว่าในช่วงฤดูแล้ง 

 


คำสำคัญ

อะทาโนริน โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง กรดลีคานอริก สารทุติยภูมิ