• จิราภรณ์ ปาลี
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • จุฬาลักษณ์ ลาเกิด
    : นักวิทยาศาสตร์ สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สมบูรณ์ คำเตจา
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โปรแกรมวิชาชีววิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
FULL TEXT

Abstract

          In this study, the researchers survey the utilization of the family zingiberaceae based on local wisdom in Chiang Saen district, Chiang Rai province. The researchers also study the micropropagation of these medicinal plants for their conservation and sustainable utilization. The survey to collect data was conducted from February to April 2019 by interviewing well-informed local persons. The survey found that twenty-three species from six genera of Zingiberaceae plants were used. Curcuma was the most utilized genus (seven species) of medicinal plants, followed by Zingiber (six species). Rizome was the main plant part used in traditional medicine. Most of the utilization was for gastrointestinal disorder treatments for carminative, gastritis, flatulence, and others. For the micropropagation of Zingiberaceae plants, an initial study was conducted to find an appropriate method for surface sterilization. The researchers selected the two species of Zingiberaceae plants most utilized by local villagers: Wan Maha Sane (Curcuma sp.) and Nan Thao Wang Haeng (Kaempferia angustifolia). The bud explants of both species were surface-sterilized with different concentrations of the surface disinfectant, Haiter@ (6 percent w/w sodium hypochlorite) and for different time periods. Then, both species of bud explants were cultured on MS agar medium for eight weeks. The results showed that the best disinfection method for Curcuma sp. was a ten percent concentration of the Haiter solution for fifteen minutes which resulted in the highest survival rate of 86.0 percent. The surface disinfection of K. angustifolia using a ten percent concentration of the Haiter solution for ten minutes was the best method as it resulted in the highest survival rate of 63.4 percent.


Keyword

Chiang Saen, micropropagation, surface disingfectant, utilization, Zingberaceae

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรวงศ์ขิงตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรวงศ์ขิงเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งทำการสำรวจเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2562 โดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ จากการสำรวจพบการใช้ประโยชน์จากพืชสกุลขิง จำนวน 6 สกุล 23 ชนิด โดยสกุลที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ Curcuma จำนวน 7 ชนิด รองลงมาคือ Zingiber จำนวน 6 ชนิด โดยส่วนของพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ เหง้า ขณะที่การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นการใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ขับลมในกระเพาะอาหารโรคกระเพาะอาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นต้น สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรวงศ์ขิงนั้น จะทำการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรวงศ์ขิงที่ชาวบ้านนิยมนำมาใช้ประโยชน์ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ว่านมหาเสน่ห์ และว่านเฒ่าหนังแห้ง โดยนำชิ้นส่วนหน่อของว่านทั้ง 2 ชนิด มาทำการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวที่มีชื่อการค้าคือ ไฮเตอร์ (ซึ่งมีโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 6%) ที่ระดับความเข้มข้นและเวลาที่แตกต่างกัน จากนั้นย้ายเลี้ยงหน่อว่านที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อแล้วบนอาหารวุ้นสูตร MS เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลจากการทดลองพบว่า วิธีการฟอกฆ่าเชื้อหน่อว่านมหาเสน่ห์ที่ดีที่สุด คือ การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ความเข้มข้น 10% นาน 15 นาที โดยมีอัตราการรอดของชิ้นส่วนสูงสุด 86.0% ขณะที่วิธีการฟอกฆ่าเชื้อหน่อว่านเฒ่าหนังแห้งที่ดีที่สุด คือ การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ความเข้มข้น 10% นาน 10 นาที โดยมีอัตราการรอดของชิ้นส่วนสูงสุด 63.4%


คำสำคัญ

การใช้ประโยชน์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เชียงแสน วงศ์ขิง สารฟอกฆ่าเชื้อ