• นพพร แหยมแสง
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ภัทรวดี ยศสิริพิมล
    : นักวิชาการอิสระ และนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ภัทรวดี หาดแก้ว
    : อาจารย์บัณฑิตพิเศษ สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วรนุช แหยมแสง
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

        In this quasi-experimental research, the researcher develops mathematics learning activities on fractions based on the constructivism theory for Matthayom Sueksa One students with the criterion efficiency of 80/80. The researcher compares the academic achievement in mathematics on fractions of the students studying with the constructed learning activities prior to and after the study. The researcher examines the student satisfaction with the constructed mathematics learning activities. The sample population consisted of thirty-nine Matthayom Sueksa One students in one classroom in the first semester of the academic year 2019 at the Demonstration School of Ramkhamhaeng University (Secondary Level). The technique of cluster sampling was used for students from eight classrooms. The research instruments consisted of the following: (1) the lesson plans for the mathematics learning activities on fractions based on the constructivism theory; (2) a test of the academic achievement on fractions; and (3) a questionnaire eliciting the student satisfaction with the constructed mathematics learning activities. The statistics used in the data analysis were percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The test to locate the means of the differences prior to and after the study was conducted using a technique of dependent t test. Findings are as follows: (1) The constructed mathematics learning activities exhibited an efficiency of 84.98/82.71 in accordance with the criterion of 80/80; (2) The academic achievement in mathematics on fractions of the students under study exhibited a higher level after the study than prior to the study at the statistically significant level of 0.05; and (3) The student satisfaction with the constructed mathematics learning activities overall was at a high level.


Keyword

academic achievement in mathematics, constructivism theory, fractions, mathematics learning activities, satisfaction

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 39 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster sampling) จากห้องเรียนทั้งหมด 8 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน และ (3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบ dependent t test ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 84.98/82.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก


คำสำคัญ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เศษส่วน กิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ ความพึงพอใจ