• ภัทร์ หาสาสน์ศรี
    : อาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)
FULL TEXT

Abstract

       This research aimed to 1) study the ethical and moral behaviors of teachers at the Demonstration School of Ramkhamhaeng University (DSRU), and 2) compare their ethical and moral behaviors in terms of gender, educational degree and work experience. The population of the study were 151 teachers at DSRU teaching in the first semester of 2015. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan Table at the 95% level of confidence, and 108 samples were then selected through a simple random sampling technique. The instrument of the study was a 40-item Likert scale questionnaire covering items regarding the four areas of teachers’ ethical and moral behaviors, namely, ethical behaviors towards students, towards self, towards profession, and towards society. The questionnaire had the indices of item congruence between 0.8-1.0 and a reliability of 0.94. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The comparisons of the means were conducted using independent t-test and one-way ANOVA. The findings indicated that 1) the teachers had a high level of overall and the four individual areas of ethical and moral behaviors; 2) male and female teachers showed a significant difference in their overall and the four individual areas of ethical behaviors at the 0.05 levels; 3) teachers with different educational degrees showed a significant difference in their overall and the four individual areas of ethical behaviors at the 0.05 level; and 4) teachers with different work experience showed a significant difference in their overall and the four individual areas of ethical behaviors at the 0.05 level.

 


Keyword

behavior, demonstration school, ethic, moral

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie and Mogan (1970,) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ของจำนวนประชากร 151 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดให้เลือกตอบ 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.8 ถึง 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่าง ใช้การทดสอบค่าที (t test) แบบ Independent และความแปรปรวนทางเดียว (one – way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรม ที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเพศต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรม ที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเองด้านจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


คำสำคัญ

พฤติกรรม โรงเรียนสาธิต คุณธรรม จริยธรรม