• ลักษณวัต ปาละรัตน์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

        The  aims  of  this  research  were   to  explore  the  Buddhist  teachings  on  self - development  and  to  search  for  the  promising  method  to  be  used  for  the  application  of  the  Buddhist principle  for  self – development  of  100  student  attending  the  “Introduction to Buddhism”  course  at  Ramkhamhaeng  University.   It  also  aimed  to  study  the  results  of  such  application  for  self – development,  both  in  body - development,  mind - development,  and  the  quality  of  life.  According  to  the  documentary  research,  it  was  found  that  “Puññakiriyāvatthu” consisting  of  Dānā,  Sīla  and  Bhāvana  is  the  suitable  principle  to  be  applied for  self - development  training  of  the  participants. As  for  the  method,  it  is  found  that  Dr. Maxwell  Maltz’s  idea  on  adjustment  period  to  changes  and   new  behaviors  known  as  “21 - Day  Habit  Theory”,  that  any  action  done repeatedly and  continuously  for  a  minimum  of  about  21  days  tend  to  form  “habit”,  is promising  to  be  used  in  setting  the  timelines  for  the  practice  of   “Puññakiriyāvatthu”  to  make  a  sustainable  self - development. According  to  the  field  research,  it  was  found  that  “Puññakiriyāvatthu” is  the  principle  that  everyone  in  the  practice  group  viewed  it  as  being practicable  and  habitual  in  daily  life.  They  also  found  it  effective  both  in  body  - development, mind - development,  and  in  improving  the  quality  of  life.  In  regard  to  the  changes  or  development  in  behaviour,  characters,  thought  and  mind,  most  of  the  student  viewed  it  at  the  high  level,  while  some  viewed  it  at  the  highest  level,  and only few  and  very  few  viewed  it  at  the  moderate  and  low  level  respectively.  Considering  the  four  desired  virtues  of  “The Thai 4.0”,  it  can  be  said  that  the  practice  of   “Puññakiriyāvatthu”  can  develop  such  moral   characters:  the  practice  of  Dānā  or  giving  ,  sharing,  sacrificing,  helped  to  develop  the  two  virtues:  living  in  moderation  or  sufficiency  and  public  mind.   While  Sīla,  doing  no  harm  to  others, helped  to  develop  the  other  two  virtues,  i.e.  self - discipline  in living  in  conformity  to  law  and  morality,  and  responsibility  for  oneself  and  others.  Lastly,  the  practice  of  Bhāvanā or  mental  culture  developed  the  mind,  and  enhanced  “Pañña”,  the  wisdom in  understanding  the  true  nature  of  life  and  all  things  which  enabling  one  to act  properly  and  therefore   free  from  sufferings.      


Keyword

Buddhist principle, practice, self - development

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพิจารณาหาหลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งพิจารณาหา วิธีการที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาตนของนักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น และศึกษาผลจากการนำ หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาไปใช้เพื่อการพัฒนาตน ทั้งทางกาย ทางจิต และคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผลจากการวิจัยเอกสาร พบว่า “บุญกิริยาวัตถุ” อันประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา นั้นเป็นหลักธรรมที่เหมาะสม กับการนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตน สำหรับวิธีการนำไปใช้ จากการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ดร.แมกซเวลล์ มอลทซ์ ที่รู้จักกันในชื่อของ “ทฤษฎี 21 วัน” ที่ว่าการกระทำซ้ำที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลา  21 วันเป็นอย่างน้อยนั้นจะเริ่มตกผลึกกลายเป็นนิสัยได้นั้น เหมาะสมกับการนำมาใช้กำหนดกรอบระยะเวลาของการฝึกปฏิบัติเพื่อ ให้เกิดผลเป็นการพัฒนาตนอย่างยั่งยืนได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า “บุญกิริยาวัตถุ” เป็นหลักธรรมที่นักศึกษาทุกคนในกลุ่มปฏิบัตินั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ตนสามารถปฏิบัติได้และเคยชินจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และเมื่อปฏิบัติแล้วก็ทำให้มีการพัฒนาตนทั้งทางกาย ทางจิต ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นทั้งด้านพฤติกรรม ลักษณะนิสัย ความคิด จิตใจ นั้นเป็นการพัฒนาในระดับมาก ขณะที่รองลงมาเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับมากที่สุด และมีเพียงส่วนน้อยและส่วนน้อยที่สุดที่เห็นว่าเป็นการพัฒนาในระดับปานกลาง และในระดับน้อย ตามลำดับ และหากจะพิจารณาถึงคุณธรรมพึงประสงค์ 4 ประการ ของ “คนไทย 4.0” ที่ต้องการเสริมสร้างและพัฒนาก็พบว่าหลัก “บุญกิริยาวัตถุ” สามารถตอบโจทย์นี้ได้  โดย “ศีล” อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นนั้นช่วยพัฒนาความเป็นผู้มีระเบียบวินัยในการดำรงชีวิตอยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรม และพัฒนาความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น  ในขณะที่ “ทาน” การให้ เสียสละ แบ่งปัน ก็ช่วยในการพัฒนาคุณธรรม 2 ประการ คือ ความพอประมาณหรือความพอเพียง และการมีจิตสาธารณะ  และท้ายสุด  “ภาวนา” ก็เป็นการพัฒนาจิตและคุณสมบัติของจิตทั้ง 3 ด้าน คือ คุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาวะของจิต พร้อมๆ ไปกับการพัฒนา “ปัญญา” ให้มีความเข้าใจใธรรมชาติที่แท้จริง ของชีวิตและสรรพสิ่ง ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และดำรงชีวิตดูอยู่ได้โดยไม่ทุกข์


คำสำคัญ

หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติ การพัฒนาตน