• Chulaporn Lertborwornwong
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

       The objective of this experiment was to study the possibility of benzene formation at different conditions used in 25% pasteurized orange juice production and storage : benzoate and ascorbic acid alone or together, pH, heating temperature and time, storage conditions (temperature, time and light exposure), metal ions, and chelating agents. An addition of 200 ppm sodium benzoate and 120 ppm ascorbic acid to 25% orange juice, pH 3.7, pasteurized at 100 OC 10 min, stored at 30 OC 24 hrs., did not induce benzene formation. The amount of benzene increased from 0 - 5.6 ppb at pH 3.7 - 2. Increased pasteurization temperature from 90 OC to 100 OC for 20 minutes, found benzene increased from 0 to 8.82 ppb and processing time from 10 to 20 minutes at 100 OC, found benzene risen from 5.32 to 8.82 ppb. Higher storage temperature (45 oC) caused more benzene formation than storage time. Light exposure did not increase benzene formation. Benzene formation in product added  only sodium benzoate or ascorbic acid was less than sodium benzoate and ascorbic acid together (stored at 45 OC). The addition of chelating agent (disodium EDTA and sodium hexametaphosphate, SHMP) can decrease benzene formation.


Keyword

ascorbic acid, benzene, benzoic acid, orange juice

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดเบนซีนที่สภาวะการผลิตและการเก็บรักษาแตกต่างกันของน้ำส้มพาสเจอไรส์ 25% ซึ่งได้แก่ ปริมาณโซเดียมเบนโซเอต และกรดแอสคอร์บิกทั้งชนิดเดี่ยวและแบบผสม  ค่าพีเอช อุณหภูมิและระยะเวลาการให้ความร้อน  สภาวะการเก็บรักษา (อุณหภูมิ เวลา และแสงสว่าง) โลหะหนัก และ สารจับโลหะหนัก ผลการวิจัยพบว่าการเติมโซเดียมเบนโซเอต และ กรดเบนโซอิก 200 ppm และ 120 ppm ตามลำดับ ในผลิตภัณฑ์ที่มี pH 3.7 ฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 oซ นาน 10 นาที เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30 oซ นาน
24 ชั่วโมง ตรวจไม่พบเบนซีน แต่พบเบนซีนปริมาณสูงสุดในผลิตภัณฑ์ที่มี pH เท่ากับ 2  ปริมาณการพบเบนซีนในผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจาก 0 เป็น 5.6 ppb ตามค่า pH ที่ศึกษาระหว่าง 3.7 - 2 ตามลำดับ การเพิ่มอุณหภูมิพาสเจอไรส์จาก 90 - 100 oซ นาน 20 นาทีพบเบนซีน เพิ่มขึ้นจาก 0 -  8.82 ppb ตามลำดับ การเพิ่มระยะเวลาการพาสเจอไรส์(45 oซ) เร่งการเกิดเบนซีน มากกว่าระยะเวลาเก็บ แสงสว่างไม่มีผลต่อปริมาณเบนซีน สารโซเดียมเบนโซเอตร่วมกับกรดแอสคอร์บิกเร่งการเกิดเบนซีนมากกว่าสารเพียงชนิดเดียว (ที่อุณหภูมิ 45 oซ)  การเติมสารจับไอออนโลหะ (Disodium EDTA และ Sodium hexametaphosphate, SHMP) สามารถช่วยลดการเกิดเบนซีนได้


คำสำคัญ

กรดแอสคอร์บิก เบนซีน กรดเบนโซอิก น้ำส้ม