• Tuangrat Tunvongvinis
    : Department of Biology Faculty of Science Ramkhamhaeng University
  • Wimon Chanchaem
    : Assistant Professor Department of Biology Faculty of Science Ramkhamhaeng University
FULL TEXT

Abstract

          Bacterial infections are very important problems of world population. Many countries have to pay large budgets dealing with these diseases. However, there were lots of studies currently reported that fruits and folk plants were rich sources of medicinal compounds those have high potential as antimicrobial agents for alternative treatments. In this study, fruit peels of five citrus fruits including Citrus maxima, Citrus reticulata Blanco, Citrus reticulata Blanco cv. Sainampueng, Citrus hystrix DC and Citrus aurantifolia were extracted by using four methods including boiling, maceration in absolute ethanol, blending of  fruit peels powder in water and blending of fresh fruit peels in water. The antibacterial activities of citrus fruits’ peels were evaluated using the agar disk diffusion method towards Escherichia coli, Staphylococcus aureus and Pseudomonas aeruginosa. The results showed that crude extracts of these five fruits’ peels from ethanolic extraction showed antibacterial activity to S. aureus and those using dry powder blending extraction had good antibacterial activity to P. aeruginosa. No inhibition zone was found in all five extracts that used boiling extraction and fresh peel blending extraction.This study also showed that the activities of those extracts depended on many factors such as species of fruits, solvent, and the method of extraction. This preliminary study demonstrated that these citrus fruit peels crude extracts at concentration 250 mg/200 μL had antibacterial activity against P. aeruginosa comparable to that of the positive control. Further study for the type and quantity of those important substances should be performed. This will lead to proper applications in pharmaceuticals or other antimicrobial products in future.

 


Keyword

Antibacterial activity, Bacterial infections, Citrus fruits, Peel extracts

บทคัดย่อ

          โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียเป็นปัญหาที่สำคัญของประชากรโลกที่ทำให้หลายประเทศสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมากอย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีรายงานการพบสารต้านจุลินทรีย์ในพืชสมุนไพรรวมทั้งผลไม้อย่างต่อเนื่องและคาดว่าสารดังกล่าวจะมีศักยภาพในการช่วยบำบัดโรคติดเชื้อสำคัญๆ ได้มากมาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม 5 ชนิด ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคสูง ได้แก่ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง มะกรูด และมะนาว มาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียชนิดที่สำคัญ โดยใช้วิธีการสกัด 4 วิธี ได้แก่ การต้มสกัด การหมักด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ การปั่นผงแห้งเปลือกผลไม้ในน้ำและการปั่นเปลือกผลไม้สด นำสารสกัดหยาบที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย 3 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa โดยวิธี agar disk diffusion ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบจากเปลือกส้มทั้ง 5 ชนิด โดยวิธีการหมักด้วยเอทิลแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. aureus ได้ สารสกัดหยาบจากการสกัดด้วยวิธีการปั่นผงแห้งเปลือกผลไม้ในน้ำมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย P. aeruginosa ได้ดี ส่วนสารสกัดหยาบจากการสกัดด้วยวิธีการต้มสกัดและการปั่นเปลือกผลไม้สดไม่พบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่นำมาทดสอบ นอกจากนี้ยังพบว่าฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกผลไม้ตระกูลส้มขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สารละลายที่ใช้ในการสกัด วิธีการสกัด และชนิดของแบคทีเรียที่นำมาทดสอบ โดยสารสกัดหยาบจากเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม 5 ชนิดที่นำมาศึกษานี้ที่ระดับความเข้มข้น 250 mg/200 μL มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย P. aeruginosa ได้ในระดับใกล้เคียงยาที่ใช้เป็นตัวควบคุมบวก จึงควรศึกษาต่อไปถึงชนิดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับการนำเปลือกส้มเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไป


คำสำคัญ

ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย  โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย  ผลไม้ตระกูลส้ม  สารสกัดหยาบจากเปลือกผลไม้