Development of Labor Inspection in Thailand
การพัฒนาระบบการตรวจแรงงานของประเทศไทย
The objectives of this study are as follows: 1) to study the situation of labor inspection in Thailand as well as the problems and obstacles which it faces; 2) to compare the labor inspection system in Thailand with those in selected countries and the ILO; 3) to study the supporting role of the government agencies, communities, and NGOs in order to create networking for efficient labor inspection; 4) to create an appropriate and effective labor inspection system that is able to protect Thai workers. Both documentary and field researches were utilized. In documentary research, the labor inspection systems in 10 countries including the United States, the United Kingdom, South Korea, Malaysia, and the Philippines were investigated. This also included investigation of the ILO’s labor standards. In the field research, a questionnaire and in-depth interviews were used. A total of 837 employees and employers from various regions and industries as well as 50 informants such as academics, administrators, inspectors and representatives of international organizations were interviewed. The study found that (1) the working conditions and welfare of the workers in manufacturing industries, commerce, transportation and services are better than in other sectors, especially those in construction, agriculture, the offshore fishery and home workers. The study found that most of the employers in large enterprises provide their employees with the rights and benefits stipulated by the labor law. About 35.71% of employers do not provide formal employment contracts for their workers. About 35.71 % of these employers also revealed that they never met the labor inspector at their working places. (2) Investigation of the labor inspection systems in countries selected for the study found that although the main work was done by the various governments, several methods such as the reporting and networking system, the complaints system, and the tri-partite system were utilized depending on the level of development of each country. (3) In-depth interviews revealed that problems of labor inspection derive from various sources. This includes inefficient of coordination among the government agencies themselves as well as between the inspection agency and the communities. Parts of the entrepreneurs did not understand why labor inspection is necessary. (4) The study revealed that it is very important for Thailand to make the labor inspection system more efficient to cope with globalization. The study proposed the networking model that will utilize various participants including private, government, NGOs and community as networking.
นเพื่อสนับสนุนการตรวจแรงงานให้มีประสิทธิภาพและสร้างเครือข่ายความร่วมมืออันนำไปสู่ระบบตรวจแรงงานใหม่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (4) สร้างรูปแบบในการคุ้มครองแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการศึกษาใช้วิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเอกสารนั้นเพื่อศึกษาระบบการตรวจแรงงานและคุ้มครองแรงงานของประเทศไทยและของต่างประเทศ 10 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรอังกฤษ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งศึกษาหลักการตรวจและมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ด้วย ส่วนการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก กับลูกจ้างและนายจ้าง รวม 837 ตัวอย่าง จำแนกตามภูมิภาคและประเภทกิจกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประกอบการ (นายจ้าง) หรือผู้แทนนายจ้าง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นักวิชาการด้านแรงงาน NGOs เจ้าหน้าที่สถานทูตและองค์การระหว่างประเทศรวม 50 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการจ้างงานและสวัสดิการของลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมการผลิต พาณิชยกรรม ขนส่ง และบริการ จะมีดีกว่าลูกจ้างใน ภาคก่อสร้าง กสิกรรมและปศุสัตว์ ประมงทะเล และรับงานไปทำที่บ้าน ทั้งยังพบว่านายจ้างในสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มีการจัดให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ร้อยละ 35.71 ของนายจ้างไม่จัดทำสัญญาจ้างงาน นายจ้างร้อยละ 35.71 กล่าวว่าไม่เคยมีพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในสถานที่ของตนเลย (2) การตรวจแรงงานของประเทศที่ศึกษาทั้ง 10 ประเทศ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของภาครัฐ แต่รูปแบบมีความแตกต่างกันบ้างตามสถานภาพของแต่ละประเทศ เช่น วิธีรายงานและระบบเครือข่าย วิธีตรวจตามคำร้อง หรือระบบการรายงานผ่านระบบไตรภาคี สำหรับประเทศไทยการตรวจแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสังกัดกระทรวงแรงงาน โดยการตรวจมีสามรูปแบบ คือ 1) การตรวจแรงงานที่พนักงานตรวจแรงงานเข้าไปตรวจในสถานประกอบกิจการ (G.S.) 2) ตรวจด้วยระบบการรายงานตนเอง (R.S.) และ 3) ตรวจโดยระบบเครือข่าย ด้วยการขอให้ข้าราชการสังกัดหน่วยงานราชการอื่นๆ ช่วยตรวจ (3) ในการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าปัญหาของการตรวจแรงงานมีที่มาหลากหลาย รวมทั้งการประสานงานและความสัมพันธ์ของราชการและผู้ประกอบการยังไม่ดีพอ โดยผู้ประกอบการบางส่วนไม่เข้าใจถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการตรวจแรงงาน และการตรวจแรงงานยังทำไม่ทั่วถึง นอกจากนั้นการประสานงานระหว่างหน่วยราชการที่ทำหน้าที่ตรวจแรงงานกับหน่วยงานอื่นและชุมชนยังไม่เพียงพอ (4) จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบบการตรวจแรงงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นการตรวจแรงงานโดยอาศัยระบบเครือข่ายจากทุกภาคของสังคมจึงถูกนำเสนอ