The Opinions of the M.Ed. Graduates in Educational Administration Program on Knowledge Applying and Self-Development after Graduation from Faculty of Education, Ramkhamheang University
การสำรวจความคิดเห็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตที่มีต่อการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานและการพัฒนาตนเองหลังสำเร็จการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
This survey research aims at studying the opinions of the M. Ed. graduates in Educational Administration
on applying knowledge in their works as well as developing themselves after they graduated and comparing
those kinds of opinions of those graduates who were different in gender, age, work position, office, and
regional location of Ramkhamhaeng University. 1,000 out of 6,836 graduates participating in the reunion
party of the M. Ed. graduates in Educational Administration on 11th December 2004 and selected by means
of a simple random sampling technique were used as a sample in this study. Completed questionnaires from
821 graduates (82.10 %) and SPSS program were employed in data analysis. Statistics used were percentage,
mean, standard deviation, t-test and One Way Analysis of Variance. An average score would be further
tested by Scheffe’s post hoc Comparison if a statistically significant difference at 0.05 was found. The study
revealed that:
1. Eigthhundred twenty one of the M.Ed. graduates in Education Administration joining in the reunion
party were male civil servants, aged between 46-55. They were all school managing directors graduating
from the northeastern.
2. The highest level of applying knowledge after graduating and being role models among colleagues
of the M.Ed. graduates was found.
3. Self development of the graduates studied was at a high level. They were proud of their graduation
from Ramkhamhaeng University where knowledge along with virtue was provided. They know how to search
for new knowledge to make them most confident in their works.
4. The graduates with different gender yielded in different opinions on applying knowledge and self -
development. The graduates with different work positions had different opinions on applying knowledge and
self - development. Those aged between 36-45 and higher than 56 provided more opinions than those aged
below 35. The graduates with different age had different opinions on applying knowledge and self - development.
Those aged between 36-45 and higher than 56 provided more opinions than those aged below 35. The
graduates from regional campuses had an in different holistic view on self - development but had a different
view on applying knowledge. The group of graduates in a northeastern part yielded more opinions than that
in a southern one.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการ
บริหารการศึกษาที่มีต่อการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานและการพัฒนาตนเองหลังสำเร็จการศึกษา และเพื่อ
เปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาที่มีต่อการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานและ
การพัฒนาตนเองหลังสำเร็จการศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และภาคพื้นที่ที่มีมหาวิทยาลัย
ตั้งอยู่ ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว จำนวน 6,836 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง
อย่างง่าย จำนวน 1,000 คน โดยเก็บจากผู้มาร่วมงานคืนสู่เหย้าชาวบริหารการศึกษาวันที่ 11 ธันวาคม 2547 ได้
แบบสอบถามที่สมบูรณ์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 821 คน คิดเป็น 82.10 % การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว (one way analysis of variance) ถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 จะนำค่าคะแนนเฉลี่ยไปทำการทดสอบโดยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe’ s Post hoc Comparison) ผลการวิจัยพบว่า
1. มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว มาร่วมกิจกรรมคืนสู่เหย้าจำนวน 821
คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย รับราชการ มีอายุระหว่าง 46 - 55 ปี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และสำเร็จการศึกษาจากภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
2. การนำความรู้ไปใช้หลังสำเร็จการศึกษาของมหาบัณฑิตอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการเป็นตัวอย่างที่ดี
ของเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การพัฒนาตนเองหลังสำเร็จการศึกษาของมหาบัณฑิตอยู่ในระดับมาก โดยมีความภาคภูมิใจที่เรียนจบจาก
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่สอนให้มีความรู้คู่คุณธรรม ตลอดจนรู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการ
ทำงานมากที่สุด มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนำความรู้ไปใช้และพัฒนา
ตนเองไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มที่ดำรงตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนำความรู้ไปใช้และการพัฒนาตนเอง
แตกต่างกัน โดยผู้อำนวยการมีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ไปใช้มากกว่าครูผู้สอน สำหรับกลุ่มที่มีอายุต่างกัน มี
ความคิดเห็นต่อการนำความรู้ไปใช้และพัฒนาตนเองแตกต่างกัน ผู้ที่มีอายุ 36 - 45 ปี และสูงกว่า 56 ปี มีความคิดเห็นมากกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี และกลุ่มที่เรียนจบจากจังหวัดที่อยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีความคิดเห็นโดย
ภาพรวมต่อการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน แต่ด้านการนำความรู้ไปใช้แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่เรียนจบในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่เรียนจบในภาคใต้