The Problems of Thai Language Usages of Secondary School Students in Bangkok Metropolis
ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
The purposes of this study were: 1) to study problems of Thai usages among grades 7 – 12 secondary
school students in Bangkok Metropolis, 2) to compare Thai usages among each level of secondary school
students, and 3) to summarize the Bangkok Metropolis outstanding secondary school teacher’s suggestions
regarding ways and means to solve the problems of Thai language usages. The samples of the study were
classified into two groups. The first were stratified 348 students who answered the questionnaires and the
latter were eight experts, selected by purposive sampling to discuss and exchange information. Focus group
methodology was applied to find resolutions on Thai misuses. Research instruments consisted of two sets of
questionnaires on problems of Thai usages for grade 7 -9 students and for grade 10-12 students. Data were
analyzed by percentage, means, standard deviation, One-Way ANOVA, Scheffé’s post-hoc comparison using
Statistical Package for Social Science. The findings were as follows: 1) Overall problems of Thai language
usages among grade 7-9 students were at the average level. When each problem was analyzed further, it
was found that problems of reading and listening were at the highest level. Problems of pronunciation,
writing, word usage and word sequence in sentence were at the average level. For grade 10 – 12 students,
overall problems of Thai usage were at the average level. Problems found in this study were word usage,
pronunciation, writing, sentence usage and reading, speaking and listening. 2) The comparisons of the
problems of Thai language usages among secondary school students at each level revealed that. 2.1) The
Third Level (Grades 7-9): The problems of Thai language usages by students in different grade levels
differed statistically significantly at the .05 level in all areas. When a post hoc Scheffé test was applied, it
was found that each pair was statistically significantly different. In particular, grade 9 students had got a
higher mean score than other grade levels, except in the area of listening in which grade 7 had got the
highest mean score. 2.2) The Fourth Level (Grade10-12): The problems of Thai language usages by students
in different grade levels differed statistically significantly at the .05 level in all areas. When a post-hoc Scheffé
test was applied, it was found that each pair was statistically significantly different. In particular, grade 10
students had got a higher mean score than other grade levels, except in the area of grade 12 students’
pronunciation had got the highest mean score. 3) The resolutions resulted from brain-storming sessions
among the outstanding secondary school teachers, who acted as the expert group suggesting the ways and
means to solve the Thai language usage problems, were to provide various remedial activities as follows:
language clinics, reading activities, Thai language contests or competitions, drama, game show hosting,
narrations from pictures, and skill exercise books.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เขต
กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้น และ (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ
แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูดีเด่นที่สอนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่ม
ตัวอย่างได้แก่ ครูสอนภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบ
แบบสอบถาม จำนวน 348 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ และกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลการสนทนากลุ่ม
จำนวน 8 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัญหาการใช้ภาษาไทย จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้
สอบถามปัญหาการใช้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็น
รายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาการ
ใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายปัญหาพบว่า
ปัญหาการอ่านและปัญหาการฟังอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการอ่านออกเสียง ปัญหาการเขียน ปัญหาการพูด ปัญหา
การดู ปัญหาการใช้คำ และปัญหาการเรียงคำหรือประโยคอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาการใช้คำ ปัญหาการอ่านออกเสียง ปัญหาการเขียน ปัญหาการใช้ประโยคและการ
ใช้ภาษา ปัญหาการชม ปัญหาการอ่าน ปัญหาการพูด และปัญหาการฟัง (2) ผลการเปรียบเทียบปัญหาการใช้
ภาษาไทยในแต่ละช่วงชั้น พบว่าช่วงชั้นที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่เรียนชั้นต่างกัน มีปัญหาการใช้
ภาษาไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้าน เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่
ตามวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่าทุกชั้นแตกต่างกัน โดยที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าชั้นอื่น ๆ ส่วนช่วงชั้น
ที่ 4 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่เรียนชั้นต่างกัน มีปัญหาการใช้ภาษาไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 ทุกด้าน เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่าทุกชั้นมีความ
แตกต่างกันโดยที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าชั้นอื่น ๆ ยกเว้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีปัญหา
การออกเสียง สูงกว่าชั้นอื่นๆ และ (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ
พบว่า กิจกรรมที่ใช้แก้ไขปัญหา คือ คลินิกหมอภาษา กิจกรรมเกี่ยวกับการอ่าน กิจกรรมประกวดหรือแข่งขัน การ
แสดงละคร พิธีกรเกมโชว์ เขียนเรื่องจากภาพ และแบบฝึกทักษะ เป็นต้น