Related Factors to Efficiency in Public Administration of CEO
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
The purposes of this study are to investigate an effectiveness of integrating CEO governor’s
administration and to examine factors related to administration of integrating CEO governors. The population
was 239 civil servants of Ministry of Interior who were 75 CEO governors and 164 deputy governors. They
were purposively sampled. The data were statistically analyzed by SPSS/FW and the statistical methods
used were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Pearson product moment correlation
coefficient was used to test two variables stated in the hypothesis.
The results revealed that majority of CEO governors were male, married, holding master’s degrees
in Public Administration, with age ranged of 56 – 60 years. In addition most of them held position of CEO
governors and vice integrating provincial governors for the first time in their province. They have never
worked in other ministers. Focusing on those who have worked in other ministers, a majority of them had
worked in Minister of Education before they transferred to work in Minister of Interior. Next, they have worked
in the Office of the Prime Minister. Focusing on their training, most of them were trained in the supreme
administration course; some of them were trained in national defense course offered by national defense
college.
Most of them have 31 – 35 years of working experience and have held their positions for three
years. Also, they have been trained for being integrating provincial governors offered by the Committee for
Governmental Administration Development, and Minister of Interior. But, most of them have never worked as
chief executive officers.
By of the CEO governors and vice into grating provincial governors agreed with the six supporting
factors in provincial administration. The majority of them agreed with environmental concern of the province,
and next was budgeting supports for quality development, public participation, administrative resources, and
organizational policy.
The majority of them strongly agreed with the effectiveness of CEO governors in terms of
worthiness, quality, goal achievement, and quickness respectively. The results of hypothesis testing showed
that supporting factors of the provincial administration concerning with environmental concern of the province,
administrative resources, province budget, public participation, and administrative development activities significantly related to the administrative effectiveness of CEO governors at .05 and these findings
corresponded with the assumptions.
Furthermore, three supporting factors in province operation which are administrative resources,
province budget, administrative development activities, and province budget affected administrative
effectiveness of CEO governors with 59.6% of variance explained.
การศึกษาวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ
บูรณาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ และ
ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ โดยศึกษาจากกลุ่ม
ประชากรซึ่งเป็นผู้รับราชการอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ 75
คน และรองผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 164 คน รวมตัวอย่างที่ศึกษาทั้งสิ้น 239 คน โดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
(purposive sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบ rating scale 5 ระดับ วิเคราะห์
ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ
(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ
วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) เพื่อหา
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและรองลงมาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่า
ราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 56 ปี – 60 ปี สมรสแล้ว มีการศึกษาอยู่ในระดับ
ปริญญาโท สาขาวิชาที่จบมากที่สุด คือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการและรองผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนี้เป็นจังหวัดแรก
โดยไม่เคยรับราชการข้ามกระทรวงมาก่อน แต่สำ หรับผู้ที่เคยรับราชการข้ามกระทรวง ส่วนใหญ่มาจาก
กระทรวงศึกษาธิการมากที่สุด รองลงมาคือ สำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่เป็นผู้เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร
นักปกครองระดับสูงมากที่สุด รองลงมาคือ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร มีอายุราชการระหว่าง 31 ปี – 35 ปี
ดำรงตำแหน่งที่ครองอยู่ในปัจจุบันมาแล้วเป็นเวลา 3 ปี และเคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ
บูรณาการมาก่อน โดยหน่วยงานที่จัดอบรมให้คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองลงมาคือ
กระทรวงมหาดไทย แต่ไม่เคยผ่านการเป็นซีอีโอมาก่อน
ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการและรองผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับปัจจัยเกื้อหนุนการดำเนินงานของ
จังหวัดอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้นด้านนโยบายองค์กรและด้านทรัพยากรการบริหารที่เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมภายในของจังหวัด รองลงมาคือ
ด้านงบประมาณของจังหวัด ด้านกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านทรัพยากรการ
บริหาร และด้านนโยบายองค์กร ตามลำดับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการและรองผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับประสิทธิภาพในการบริหารงานของ
ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านความคุ้มค่า รองลงมาคือ ด้านความมีคุณภาพ ด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และด้านความ
รวดเร็ว ตามลำดับ
ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม พบว่า ปัจจัยเกื้อหนุนการดำเนินงานของ
จังหวัด ได้แก่ นโยบายองค์กร สภาพแวดล้อมภายในจังหวัด ทรัพยากรการบริหาร งบประมาณของจังหวัด การมีส่วน
ร่วมของประชาชน และกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหาร มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการบริหารงานของ
ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่วางไว้ นอกจากนี้
ยังพบว่า ปัจจัยเกื้อหนุนการดำเนินงานของจังหวัด ได้แก่ ทรัพยากรการบริหาร กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหาร
และงบประมาณของจังหวัด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ โดยสามารถ
อธิบายความผันแปรได้ ร้อยละ 59.6