A Collaboration Model of Tambon Administration Organization of Basic Education Management in the Lower Northern Region of Thailand
รูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง
This research is qualitatively and quantitatively conducted to: (1) study the cooperative styles among
Tumbon Administrations Organizations (TAOs) in the lower northern region of Thailand, (2) study factors that
influence TAOs in basic education provision and, (3) present a collaborative model of TAOs in basic
education provision in the lower northern region. The analysis techniques and data collection consist of (1)
path Analysis of 404 questionnaires, the return of 100%, (2) in-depth interview of eight outstanding TAOs in
lower northern region, (3) in-depth interview of 10 experts in education and 10 local administrative experts
and, (4) in-depth interview of eight policy establishers from eight provinces and eight policy followers on the
cooperation of basic educational provision in eight TAOs in the lower northern region of Thailand. The results
show that:
1. the collaboration among TAOs is in the moderate level. It is also found that TAOs provide
educational support rather than facilitate with policy making and follow-up assessment.
2. the three factors that influence TAOs in providing basic education in terms of planning, supporting
and appraising are: (A) the capability of the TAOs in organizational management, (B) the interest of
educational affairs and, (C) the knowledge and understanding of the education revolution. On the other
hand, the incomes of the TAOs do not effect the educational cooperation among them because the income is
only one minor contribution to the TAOs collaboration.
3. the typical collaboration model of these TAOs is the style that starts right from the beginning and
lasts until the end of each task. The schools give TAOs opportunities to participate in education
management. Likewise, the TAOs are well-aware of the obligation to cooperate in every step-planning,
setting project to support, and evaluating education management annually. Additionally, the collaboration
among TAOs can be increased by engaging each TAO potential development. This can be done through the
proficiency development of organizational management, attentive interest in education in order to develop
academic affairs in the schools, improve awareness and understanding in education revolution for more
progressive educational efficiency.
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาวะความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง (3) นำเสนอรูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และใช้ข้อมูลเชิงคุณลักษณะเทคนิคในการ
วิเคราะห์ข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง โดยใช้แบบสอบถาม 404 ชุด (1) ได้รับ
แบบสอบถาม 404 ชุด คิดเป็น 100% (2) การสัมภาษณ์เจาะลึกกับองค์การบริหารส่วนตำบลดีเด่นในเขตภาคเหนือ
ตอนล่าง 8 จังหวัด (3) การสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการ
ปกครองท้องถิ่น จำนวน 10 คน (4) การสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มผู้กำหนดนโยบายจำนวน 8 คน จาก 8 จังหวัด กับกลุ่ม
ผู้ปฏิบัติงานในการให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจากองค์การบริหารส่วนตำบล 8 องค์การบริหารส่วน
ตำบล จาก 8 จังหวัด ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ผลการวิเคราะห์พบว่า
1. ความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาในด้านการสนับสนุน
ทรัพยากรทางการศึกษามากกว่าการให้ความร่วมมือในด้านการวางแผนการศึกษา และการติดตามการประเมินผล
การศึกษา
2. มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ความสามารถในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ความสนใจงานทางด้านการศึกษา
และการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา มีผลต่อความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านการวางแผนการศึกษา การสนับสนุนทรัพยากร และการติดตามประเมินผลการศึกษา
สำหรับปัจจัยด้านรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ไม่มีผลต่อความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัด
การศึกษา เนื่องจากปัจจัยด้านรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ในการที่จะให้ความ
ร่วมมือในการจัดการศึกษา
3. รูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง
คือ รูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุดของ
งาน โดยสถานศึกษาต้องสร้างโอกาสให้องค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามามีบทบาทในการให้ความร่วมมือในการจัด
การศึกษา และในขณะเดียวกัน องค์การบริหารส่วนตำบลต้องถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องให้ความร่วมมือในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเข้าร่วมการวางแผนการศึกษา วางโครงการในการสนับสนุนทางการศึกษา และร่วมกำกับติดตามประเมินผล
ในการจัดการศึกษาแต่ละปี นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาในเขต
ภาคเหนือตอนล่างนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองในปัจจัยดังนี้ คือ
การพัฒนาด้านความสามารถในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล การให้ความสนใจงานด้านการศึกษาเพื่อจะนำมา
พัฒนาการศึกษาในสถานศึกษา และการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เพื่อจะได้นำความรู้
ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาไปพัฒนางานด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น