Effect of Plant Growth Regulators on in vitro Shoot Tip of Maa-kang (Vitex scabra Wall. Ex Schauer)
อิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อชิ้นส่วนยอดมะคัง (Vitex scabra Wall. Ex Schauer) ในสภาพปลอดเชื้อ
The in vitro shoots of Maa-kang (Vitex scabra Wall. Ex Schauer) were cultured on Murashige and
Skoog (MS) medium supplemented with various concentrations of 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D); 0,
0.1, 0.3 and 0.5 mg/l in combination with Benzyladenine (BA); 0, 2, 4, and 6 mg/l, for 4 weeks. BA at 2 mg/l
was the most effective in shoots induction (60 %) and gave the highest average shoot number of 2.4 with
1.29 cm. in length. There was no callus in every treatment. According to callus induction, shoots of Maa-kang
were cultured on modified MS medium, added with 100 mg/l sodium sulfate (Na2SO4) and 5% sucrose,
supplemented with 0, 0.1, 0.3, 0.5 and 1.0 mg/l 2,4-D, for 6 weeks. Callus was induced on all of the media
added with 2,4-D. Significant differences were observed between the treatments. The highest volume of
callus was found on the medium added with 1 mg/l 2,4-D. The physical characteristics were white and green
compact with a few yellow friable calli on the top of callus surface.
ชิ้นส่วนยอดของมะคัง (Vitex scabra Wall. Ex Schauer) เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige และ
Skoog (MS) ที่เติม 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.3 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
ร่วมกับ Benzyladenine (BA) ความเข้มข้น 0, 2, 4 และ 6 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 4 สัปดาห์ พบว่าชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยง
บนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดได้ดีที่สุด มีการเกิดยอด 60
เปอร์เซ็นต์ จำนวนยอดเฉลี่ย 2.4 ยอด ความยาวเฉลี่ย 1.29 เซนติเมตร ในทุกสูตรอาหารไม่มีแคลลัสเกิดขึ้น เมื่อนำ
ส่วนยอดของมะคังมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่มี sodium sulfate (Na2SO4) ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม
ต่อลิตร น้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ เติม 2,4-D ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.3, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 6 สัปดาห์
พบว่าอาหารทุกสูตรที่มี 2,4-D สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ โดยสูตรที่มี 2,4-D ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร
แคลลัสมีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะแข็ง เกาะตัวกันแน่น สีขาวปนเขียว และมีแคลลัสเกาะตัวกันหลวมๆ สีเหลือง ขนาด
เล็กๆ อยู่ด้านบน