Income Inequality Index: a Case Study of Bangkok
ดัชนีชี้วัดความไม่เท่าเทียมในรายได้กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร
The purpose of this study is to investigate the factors determining for income inequality in Bangkok
metropolitan area during 1984 – 2003. The analysis is divided into 2 components, the first is to calculate the
income inequality and the second is to investigate the determinants of the income inequality.
Based on the Shorrocks’ income inequality index, the results show that the income inequality had the
highest value, meaning the most unequal income distribution in 1988 (income inequality index = 0.49) and
then dramatically declined. The lowest value occurred in 2000 (income inequality index = 0.23) and then
slightly increased in 2001.
The multiple regression analysis has been applied to study the relationship between the income
inequality index and its determinants which are Bangkok’s Gross Provincial Product, Bangkok’s urban
population density, Bangkok’s fertility rate and health index. The results show that all of independent
variables have impact on the dependent variable, income inequality index, as hypothesized, except for
Bangkok’s urban population density. The positive relationship between income inequality and urban
population density found in this study is contradicted to those of previous studies. The explanation of such a
difference may be due to the fact that other studies separated urban and rural population, where as this
study used only urban population because in Bangkok, there is no rural population. Major share of
immigrants to Bangkok always come from the rural areas of other cities, and they are rather poor. Therefore,
the increase in Bangkok’s population density may lead to the higher income inequality. The other explanation
may be due to an error in population data provided by the Ministry of Interior which is undoubtedly under
reported.
ในการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ของกรุงเทพมหานครนั้น ได้ทำการศึกษาใน
ช่วงเวลา พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2546 โดยการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรกจะเป็นการคำนวณหาค่าดัชนี
ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ (income inequality index) และส่วนที่ 2 จะศึกษาถึงองค์ประกอบของความไม่เท่าเทียม
กันในรายได้
ในการคำนวณดัชนีความไม่เท่าเทียมกันในรายได้จะใช้วิธีการของ Sorrock พบว่า ในกรุงเทพมหานครมีความ
ไม่เท่าเทียมกันมากที่สุด ในปี พ.ศ. 2531 มีค่าดัชนี เท่ากับ 0.49 และมีความไม่เท่าเทียมกันน้อยลงเป็นลำดับ โดยดัชนี
มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.23 (มีความเท่าเทียมกันมากที่สุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปีอื่น ๆ อยู่ที่ปี พ.ศ. 2543 และเริ่มมี
แนวโน้มของความไม่เท่าเทียมกันสูงขึ้นอีกเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2544
จากการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีส่วนในการอธิบายความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ของ
กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression analysis) พบว่า ตัวแปร
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของกรุงเทพมหานคร ตัวแปรระดับสุขภาพ และตัวแปรดัชนีสุขอนามัยของประชากร มีความสัมพันธ์
ในทิศทางตรงกันข้าม ตัวแปรความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ในทิศทาง
เดียวกันเป็นไปตามสมมุติฐาน ยกเว้นตัวแปรความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร มี
ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ ซึ่งต่างจากการศึกษาของนักวิจัยท่านอื่น ทั้งนี้อาจ
เนื่องมาจากการศึกษาเกี่ยวกับความหนาแน่นของประชากรของนักวิจัยท่านอื่นนั้นในพื้นที่ที่ศึกษามีการแบ่งพื้นที่
ออกเป็นสองส่วนคือ ความหนาแน่นของเขตเมืองและความหนาแน่นของเขตชนบท แต่ของกรุงเทพมหานครมีเพียง
พื้นที่ที่เป็นเขตเมืองเท่านั้นไม่มีเขตชนบท ประกอบกับการย้ายถิ่นของประชากรมาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่
เป็นประชากรที่ยากจนมาจากเขตชนบทของจังหวัดอื่น ทำให้ความหนาแน่นของประชากรในกรุงเทพมหานครมีมาก
ขึ้นซึ่งอาจจะทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้มากขึ้นด้วย และอีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากตัวเลขจำนวนประชากรที่
นำมาคำนวณความหนาแน่นเป็นตัวเลขที่ได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ที่บันทึกไว้มีค่าต่ำกว่าความ
เป็นจริงก็เป็นได้