• อรุณทวดี พัฒนิบูลย์
    : รองศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เตือนใจ เกตุษา
    : รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

This research investigates factors affecting the motivation of students undertaking graduate studies
at the regional campuses of Ramkhamhaeng University (RU). Also considered is the degree of correspondence
between the actual experiences of students regarding the organization of instruction at the regional campuses
and the expectations they had prior to commencement of studies.
The population sample from which data was collected for this research was comprised of 5,319
graduate students from twenty regional campuses. The research tool was a questionnaire couched at a
coefficient alpha reliability level of 0.924. The findings are as follows:
1. The motivation of graduate students at all RU regional campuses was at a high level.
2. An analysis of the degree of correspondence between actual experience and student expectations
regarding the organization of instruction at RU’s regional campuses indicated that students maintained
expectations at a high level, while an actual experience corresponded to expectations in regard to the
following conditions.
(1) Faculty expertise exhibited in the areas in which professors taught
(2) A proper degree of attention devoted to graduate students as evidenced by the services
provided by personnel at the regional campuses
(3) The appropriateness of teleconferencing media
(4) The appropriateness of texts and teaching materials
(5) Opportunities to exchange knowledge and experiences between students studying in the same
network
(6) Fairness of assessments provided by lecturers
The conditions that students expected to be at a high level, but actually experienced at a moderate
level are as follows:
(1) sufficient parking space
(2) opportunities to exchange ideas with lecturers
(3) up-to-date libraries
3. An analysis of the relationship between personal factors and the level of motivation for studying
at RU regional campuses indicated that gender, age, marital status and the field of study of the students was
positively correlated with the level of motivation at a statistically significant level of 0.05. However, student
income was not correlated with the level of motivation at a statistically significant level.
4. The analysis of the relationship between the various aspects of the factor of marketing and the
level of motivation with regard to studying at RU regional campuses were examined. The factor of marketing
was examined in regard to the four aspects of expenses, public relations, location of university, and the quality of the product. The results indicated that all four aspects were positively correlated with the level of
student motivation at a statistically significant level of 0.05.
5. The stepwise multiple regression method of analysis yielded an equation capable of forecasting
the level of motivation in regard to the decision to study at RU regional campuses. Variables comprising
seventeen aspects of the factor of marketing were analyzed in such a way that the least discrepancy would
be eliminated. The total analysis involved fifteen steps. The analysis indicated that there were fifteen
variables that could be used in forecasting the level of motivation in studying at the RU regional campuses at
a statistically significant level of 0.05. In descending order of importance these variables are given as follows:
(1) X15 : Graduates from RU are qualified.
(2) X17 : Able to exchange knowledge and experiences with students studying in other
regional campuses.
(3) X7 : Lecturers are well-known and qualified.
(4) X6 : Public relations officers at RU make the university well known by means of the
media.
(5) X14 : RU is well accepted in society.
(6) X2 : Costs at all phases of the curriculum are less than those at other institutions.
(7) X11 : Buildings and teaching equipment are modern.
(8) X9 : No minimum grade point average at the undergraduate level
(9) X12 : The location of university campuses make commuting convenient
(10) X4 : Tuition fees can be paid in installments.
(11) X1 : Reasonable tuition fees
(12) X16 : The block course system reduces stress because one can study and be examined on
one subject at a time.
(13) X5 : Timetables are suitable.
(14) X3 : Clearly specified expenses throughout all phases of the curriculum.
(15) X13 : Credits and exams can be transferred to programs at other campuses.
The two aspects of the factor of marketing that could not be used to forecast the level of motivation
in studying at RU regional campuses are as follows:
(1) X8 : The curriculum requires no thesis.
(2) X10 : The campus location is close to accommodations and workplaces.
The multiple coefficient correlation among forecast variables (X: aspects of the factor of marketing)
and criteria variables (Y: the level of motivation) was equal to 0.751. The forecast variable could help forecast
the level of motivation at 56.40%. Discrepancy in the forecast was equal to 0.339. The forecast equation
could accordingly be written in the form of a correlation in a raw score and standard score form as follows:
′ = + + + + + 15 17 7 6 y .732 .153Χ .109Χ .096Χ .062Χ
+ + + + + 14 2 11 9 12 .075Χ .043Χ .039Χ .034Χ .029Χ
4 1 16 5 3 13 .026Χ + .032Χ + .029Χ + .022Χ + .021Χ + .016Χ
วารสารวิจัยรามคำแหง ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน 2551
21
15 Χ17 Χ7 Χ6 Χ14 ′ = .211 + .195 Ζ + .133 Ζ + .113 Ζ + .099 Ζ
′ Χ Ζ Ζ
y +
Χ2 Χ11 Χ9 Χ12 Χ4 .070 Ζ + .069 Ζ + .064 Ζ + .059 Ζ + .056 Ζ +
Χ1 Χ16 Χ5 Χ3 Χ13


Keyword

factor, motivating, regional campuses

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อที่สาขาวิทย-
บริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งศึกษาความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริง กับสิ่งที่
นักศึกษาคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ กลุ่ม
ตัวอย่างที่ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 5,319 คน จากสาขาวิทยบริการฯ 20 แห่ง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (coefficient alpha reliability) มี
ค่าเท่ากับ 0.924 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขาวิทยบริการฯ มีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อที่สาขาวิทยบริการฯ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่นักศึกษาคาดหวังต่อการจัดการเรียน
การสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ พบว่า สิ่งที่นักศึกษาคาดหวังไว้ในระดับ
มากและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงสอดคล้องกับความคาดหวังของนักศึกษาได้แก่
1) ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอนของคณาจารย์ที่สอน
2) ความใส่ใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ประจำสาขาวิทยบริการฯ
3) ความพร้อมของสื่อการสอนทางไกล
4) ความพร้อมของตำรา / เอกสารประกอบการสอน
5) การมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กับเพื่อนนักศึกษาที่เรียนเครือข่ายเดียวกัน
6) ความยุติธรรมในการประเมินผลของอาจารย์
ส่วนเรื่องที่นักศึกษาคาดหวังในระดับมากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงมีในระดับปานกลาง ได้แก่
1) ความเพียงพอของสถานที่จอดรถยนต์
2) การมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์
3) ความทันสมัยของห้องสมุด
3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อที่สาขาวิทย
บริการฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส และสาขาวิชาที่ศึกษาของนักศึกษามีความสัมพันธ์
กับระดับแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายได้ของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจอย่าง
ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

4. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับแรงจูงใจในการเลือกเข้า
ศึกษาต่อที่สาขาวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้าน
ค่าใช้จ่าย ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้านสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และด้านคุณภาพของผลผลิต
มีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. จากการวิเคราะห์เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ระดับแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อที่สาขาวิทย-
บริการฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)
โดยนำตัวแปรพยากรณ์ซึ่งได้แก่ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด รวม 17 ตัว มาทำการวิเคราะห์จนได้ค่าความคลาด
เคลื่อนในการพยากรณ์น้อยที่สุด รวมวิเคราะห์ทั้งหมด 15 ขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่าตัวแปรที่สามารถนำมาใช้ใน
การพยากรณ์ระดับแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อที่สาขาวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 มีทั้งหมด 15 ตัว เรียงตามน้ำหนักความสำคัญ ดังนี้
1) x15 : บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีคุณภาพ
2) x17 : สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักศึกษาที่เรียนที่ สาขาวิทยบริการฯ
จังหวัดอื่น ๆ ได้
3) x7 : คณาจารย์ที่สอนมีชื่อเสียงและมีคุณภาพ
4) x6 : มีการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยผ่านสื่อต่างๆ ให้เป็นที่รู้จัก
5) x14 : มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นที่ยอมรับของสังคม
6) x2 : ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรน้อยกว่าสถาบันอื่น
7) x11 : มีอาคารเรียนและอุปกรณ์การสอนที่ทันสมัย
8) x9 : ไม่จำกัดผลการเรียนเฉลี่ยระดับปริญญาตรี
9) x12 : ทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสะดวกต่อการเดินทางมาเรียน
10) x4 : มีการผ่อนผันการชำระค่าเล่าเรียนได้
11) x1 : ค่าหน่วยกิตมีความเหมาะสม
12) x16 : มีระบบการสอนแบบ Block Course ทำให้ไม่เครียด เพราะเรียนและสอบทีละวิชา
13) x5 : เวลาที่จัดให้เรียนเหมาะสม
14) x3 : กำหนดค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรไว้ชัดเจน
15) x13 : สามารถโอนการเรียนและการสอบไปดำเนินการที่สาขาวิทยบริการฯ อื่นได้
ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อที่
สาขาวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงมี 2 ตัวแปร ได้แก่
1) x8 : เป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์
2) x10 : สถานที่เรียนอยู่ใกล้ที่พักอาศัย / ที่ทำงาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรพยากรณ์ (x : ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด) กับตัวแปร
เกณฑ์ (y : ระดับแรงจูงใจฯ) เท่ากับ .751 ตัวแปรพยากรณ์สามารถร่วมพยากรณ์แรงจูงใจได้ร้อยละ 56.40 มี
ความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์เท่ากับ .339 เขียนสมการพยากรณ์ในรูปความสัมพันธ์แบบคะแนนดิบ และคะแนน
มาตรฐานได้ดังนี้
′ = + + + + + 15 17 7 6 y .732 .153Χ .109Χ .096Χ .062Χ
+ + + + + 14 2 11 9 12 .075Χ .043Χ .039Χ .034Χ .029Χ
4 1 16 5 3 13 .026Χ + .032Χ + .029Χ + .022Χ + .021Χ + .016Χ
วารสารวิจัยรามคำแหง ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน 2551
19
15 Χ17 Χ7 Χ6 Χ14 ′ = .211 + .195 Ζ + .133 Ζ + .113 Ζ + .099 Ζ
′ Χ Ζ Ζ
y +
Χ2 Χ11 Χ9 Χ12 Χ4 .070 Ζ + .069 Ζ + .064 Ζ + .059 Ζ + .056 Ζ +
Χ1 Χ16 Χ5 Χ3 Χ13


คำสำคัญ

ปัจจัย แรงจูงใจ สาขาวิทยบริการฯ