• วนิดา ฉัตรวิราคม
    : อาจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this study were: 1) to study the problems confronting the science teaching students
at Ramkhamhaeng University; 2) to develop these students’ knowledge of science and science process skills,
according to the particular types of problems they were facing; and 3) to compare the students’ knowledge of
science and science process skills. The samples of the study, obtained by a random sampling technique,
were ten science teaching students at Ramkhamhaeng University. The research instruments consisted of a set of knowledge of science and science process skills interviewing outline; a set of science achievement
test, according to the types of problems faced by the students; an observation form to evaluate the skills in
using electrical energy equipments; and a questionnaire assessing the ability to use the electrical energy
equipments. The data were analyzed using the Statistical Package for Social Sciences. Specific statistics
used were percentage, mean, standard deviation and t-test. The findings of the study were as follows: 1) The
science strand least understood by the subjects of the study was “Substance and Properties.” Standard 3.2
was the most problematic one for the students. The topic least understood was “Chemical Reaction.” The
cause of the problem for most students was the lack of understanding of the science strands. Students
needed more review of the contents and more help with sequencing. As for problems regarding the science
process skills, the most problematic one was the data collection skill. The subjects needed the most help in
securing equipments and materials for the teaching of “Electrical Equipments.” 2) Students undergoing the
training in science knowledge and science process skills exhibited a higher mean score in the post-test than
in the pre-test.


Keyword

teaching development, science teaching student

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาสาขาการสอนวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง (2) เพื่อพัฒนาสาระและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามสภาพปัญหาของนักศึกษา และ (3)เพื่อ
เปรียบเทียบความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนสอน และหลังสอนของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ นักศึกษาสาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 10 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 4 ชุด ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์สาระและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (2) แบบทดสอบ
สาระวิทยาศาสตร์ ตามสภาพปัญหาของนักศึกษา (3) แบบสังเกตการณ์ใช้อุปกรณ์เรื่องพลังงานไฟฟ้า และ (4)
แบบสอบถามความสามารถในการใช้อุปกรณ์เรื่องพลังงานไฟฟ้า การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทาง
สังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ( t - test) ผลการวิจัยมีดังนี้ การศึกษา
สภาพปัญหาของนักศึกษาสาขาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่าสาระวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษามี
ความเข้าใจน้อยที่สุด ได้แก่ สาระเรื่องสารและสมบัติของสาร มาตรฐานที่มีปัญหาในการสอนมากที่สุด ได้แก่มาตรฐาน
ว. 3.2 หัวข้อที่มีความเข้าใจน้อยที่สุดได้แก่ เรื่องปฏิกิริยาเคมี ปัญหาที่นักศึกษาไม่เข้าใจในหัวข้อส่วนใหญ่เป็นเพราะ
ไม่เข้าใจสาระวิทยาศาสตร์มากที่สุด นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้ช่วยทบทวนเนื้อหาและเรียงลำดับเนื้อหาการสอน
ในส่วนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีปัญหาส่วนใหญ่คือ ขั้นรวบรวมข้อมูลและนักศึกษาต้องการให้ช่วยหาอุปกรณ์
และเอกสารประกอบการใช้สอนเรื่องอุปกรณ์ไฟฟ้ามากที่สุด ในส่วนของการพัฒนาสาระวิทยาศาสตร์และกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสาขาการสอนวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลสรุปได้ว่า นักศึกษาทุกคนที่ผ่านการพัฒนาการสอนสาระ
วิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนหลังการพัฒนาการสอนสูงกว่าก่อนพัฒนาการสอน


คำสำคัญ

การพัฒนาการสอน นักศึกษาสาขาการสอนวิทยาศาสตร์