• ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน
    : อาจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this research was to study the composition, distribution and abundance of meiofaunal communities in the natural mangrove forest of the western Tha Chin estuary, Samut Sakhon Province. Meiofaunal samples were collected from sixteen sampling stations during low tide along four transects from the landward edge of the mangrove forest to the seaward mudflat. Each transect comprised of the landward mangrove forest, middle zone of mangrove forest, the mangrove fringes and tidal mudflat. In total, 10 meiofaunal taxa were found with the dominant taxa belonging to nematodes, foraminiferans, polychaetes and harpacticoid copepods. The densities of meiofauna ranged from 210 to 1,348 inds/10 cm2. The highest meiofauna densities were found in the mudflat due to the abundance of nematodes followed by upper reach of mangrove forest, middle zone of mangrove forest and lowest densities in lower zone of mangrove forest, respectively. The distribution and abundance of dominant group of meiofauna were significantly correlated (p<0.05) with grain size composition and organic matter content in the sediment, vegetative biomass, salinity and dissolved oxygen of soil water.


Keyword

distribution, Tha Chin mangrove estuary, meiofauna

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ การกระจาย และความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กในบริเวณป่าชายเลนธรรมชาติทางฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็ก จำนวน 16 สถานี ช่วงน้ำลงต่ำสุด ใน 4 แนวศึกษาจากพื้นที่ป่าชายเลนตอนบนติดกับแผ่นดินออกสู่ทะเลในบริเวณหาดเลน ซึ่งแต่ละแนวประกอบด้วย บริเวณป่าชายเลนตอนบน ป่าชายเลนตอนกลาง ป่าชายเลนตอนล่าง และบริเวณหาดเลน ผลการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็ก ทั้งหมด 10 กลุ่ม ไส้เดือนทะเลตัวกลม (nematodes) ฟอแรมมินิเฟอรา (foraminiferans) ไส้เดือนทะเล (polychaetes) และฮาร์แพคทิคอยด์โคพีพอด (harpacticoid copepods) พบเป็นกลุ่มเด่น ความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กมีค่าในช่วง 210-1,348 ตัวต่อ 10 ตร.ซม. บริเวณหาดเลนมีความหนาแน่นมากที่สุด เนื่องจากพบไส้เดือนทะเลตัวกลมชุกชุม รองลงมาคือ ป่าชายเลนตอนบน ป่าชายเลนตอนกลาง และป่าชายเลนตอนล่าง ตามลำดับ การกระจายและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กกลุ่มเด่นแสดงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับขนาดอนุภาคดินตะกอน ปริมาณสารอินทรีย์ในดิน มวลชีวภาพของพืชป่าชายเลน ความเค็ม และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในดิน


คำสำคัญ

การกระจาย ป่าชายเลนปากแม่น้ำท่าจีน สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็ก