• ศศิวิมล สู่วรฤทธิ์
    : นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกและมาตรการของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย ภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ศึกษาผลกระทบที่เป็นไปได้ของประชาคมอาเซียน ที่มีต่อการคุ้มครองสิทธิเด็ก เสนอแนะเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้กรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจากทางภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของกลไกทางด้านกฎหมาย หน่วยงานภาครัฐได้มีการจัดเตรียมไว้แล้ว ดังนี้ 1) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ ได้มีคณะทำงานเพื่อจัดรายงานตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฯ เรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก เรื่องความเกี่ยวกันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ และเรื่องคุณลักษณะเด็กและเยาวชนไทยที่พึงประสงค์ 2) กระทรวงยุติธรรม ได้แก่ การดำเนินโครงการว่าด้วยการมีชีวิตรอดของเด็ก พัฒนาการและปกป้องเด็กโดยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และกฎหมายของทุกประเทศที่กำหนดให้มีการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน ต่างจากผู้ใหญ่ โดยได้แบ่งตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม 3) กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ การจัดทำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียน ในสถานศึกษา พ.ศ.2548 และในส่วนของกลไก ทางด้านสถาบันมีการกำหนดกลไกทั้งในระดับชาติทั้งภายในประเทศไทย ภายในประเทศอาเซียน การกำหนด และการผสานการทำงาน ทั้งในระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วม และในส่วนของมาตรการ หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบด้านความยุติธรรมและสิทธิของเด็ก ได้มีการจัดทำมาตรการการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กไว้เป็นอย่างดีแล้ว ยกเว้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดกลไกและมาตรการในด้านนี้ไว้โดยเฉพาะ แต่มีการจัดทำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำแผนพิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ (พดส.ตร.551) มาใช้ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และควรเพิ่มเติมในส่วนของการส่งเสริม ให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเกิดความรู้ความเข้าใจในแผนงานที่ตนรับผิดชอบ ผลกระทบจากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เด็กไทยเสียเปรียบทางด้านภาษา เพราะไม่เห็นความสำคัญในการใช้ภาษาอังกฤษและขาดทักษะการนำไปใช้ การแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่น ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้ามชาติ อาชญากรรมข้ามชาติ การสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ส่งผลให้เด็กตกเป็นเหยื่อของผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก เด็กถูกละเมิดสิทธิจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1) ควรส่งเสริมบทบาทภาคีเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดมาตรการแก้ไขปัญหา 2) ปรับปรุงการปฏิบัติต่อเด็กที่กระทำผิดอย่างเหมาะสม 3) ส่งเสริมให้ภาครัฐ มีการผสานงานทางด้านกฎหมายกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 4) ภาครัฐ ควรสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสมในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 5) ด้านการศึกษา ควรให้ภาคีเครือข่าย ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เข้ามาจัดหลักสูตรการศึกษาร่วมกัน 6) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองพัฒนาความรู้ ปรับทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม 7) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


Keyword

ASEAN Socio-Cultural Community, Children’s rights, Promotion and Protection for Children's rights

บทคัดย่อ

The purpose of this study is to appraise the level of governance and promotion for children rights in Thailand under the provision of ASCC. This paper explored the impact of the establishment of ASEAN on children’s Rights Promotion and Protection. Moreover, the recommendations were made on the enhancements of the programme under ASEAN. Key data were gathered from various trustworthy sources, for example, the subject matter experts and relevant government personnel (14 participants) in both verbal interview format and credible documentation. The applied research methodology is predominantly Qualitative Analysis. This study found that from the legal and control perspectives, all relevant government bodies have put in place sufficient measures for the programme and they are ready to enter into ASCC except The Royal Thai Police. An ongoing promotion programme is needed to educate public personnel on the importance of their role and responsibility. Thai children are at a disadvantage on their ability and willingness to communicate in other languages for job prospects outside the border of Thailand and most importantly this can be a problem as children can be exploited to cross-border crimes. Lastly, children are physical, mentally and emotionally abused from adult-related issues including national politics. The followings are recommendations to consider 1) Ongoing support programmes targeting private and public bodies to create synergy and to resolve issues 2) Improve how children that offence are being treated 3) The collaboration among the relevant government bodies in ASEAN 4) A budget should be available for promotion to drive awareness 5) Encouraging more research on the topic at the international and national levels 6) Educational programmes for adults to improve and change the way the raise children, and 7) Continuous efforts to review the success and failure of the programme.


คำสำคัญ

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สิทธิเด็ก การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก